"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ภัยเงียบ โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อก่อนอาจจะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ ในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ และเป็นการตายแบบชนิดเฉียบพลัน โรคนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและมีการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอทำให้เกิด ความเสื่อมของหลอดเลือดหัว เห็นได้จากสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการตายจากหลอด เลือดหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 7 เท่า

ผู้ป่วยเบาหวาน มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ?
   - มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไป และมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
   - มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2 - 4 เท่า
   - มีอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยหญิงมากกว่าชาย
   - มักจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ทำให้มีอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจสูง

ทำไม ต้องป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจจากเบาหวาน ?


           ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความผิดปกติของหลอดเลือดเร็วกว่าคนปกติ รอยโรคเหล่านี้ (plaque) อาจจะมีการปริ ซึ่งจะเหนี่ยวนำทำให้เกิลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน ทำให้มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจตามมา ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากขั้นกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยเบาหวานการรักษาจะได้ผลดีน้อยกว่าคนทั่วไป การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคนั้นจึกดีว่าปล่อยให้เกิดโีรคแล้วค่อย ทำการรักษา

           ทำไม...ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่า หรือรุนแรงกว่าคนทั่วไปหรือคนที่เป็นโรคอื่น?
           ระดับน้ำตาลและสารบางอย่างที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานทำให้เกิดความเสื่อม ของผนัง หลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ

           ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติส่งผลทำให้หลอดเลือดมีโครงสร้างและหน้าที่ผิดปกติ ไปหลอดเลือดต่างๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบมีโอกาสปริแตก ทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันอย่างฉับพลันได้

อาการโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอื่นๆ หรือไม่?
           อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจผู้ที่เป็นเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่ มี เนื่องจากส่วนใหญ่มีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ อาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าาอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติอาการแน่นอึดอัดบริเวณกลางหน้าอก หน้าอกซ้าย หรือลิ้นปี่ คล้าอาการจุก เสีด อาหารไม่ย่อย อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่นจะเป็นลม หรือหมดสติ

           อาการอาจ มีหลายอย่างเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ อาจมีภายหลังจากรับประทานอาหาร ตื่นนอนตอนเช้า อากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ (ในรายที่ท้องผูก) เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์
ควรป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อน ทางหลอดเลือดหัวใจจากเบาหวานอย่างไร ?
           ภาวะโรคหลดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องพยายามควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและการแก้ไขภาวะผิดปกติที่พบร่วมกับ โรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และอื่นๆ หรือในรายที่ีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นแล้ว การดูแลตนเอง การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การพบแพทย์ตามนัดมีความสำคัญ


"ดุ แลตนเองด้วยการควบคุมเบาหวานให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยฉเพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน"ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์