"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ระวังภัย“โรคพิษสุนัขบ้า”


          "กรมควบคุมโรค"เตือนโรค พิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ป่วยแล้วตายทุกราย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุนัข พบข้อมูลผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่าร้อยละ 80 เกิดจากถูกสุนัขที่เลี้ยงไว้และสุนัขของเพื่อนบ้านที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกัด
          นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรค พิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ป่วยแล้วตายทุกราย ในปี 2556 ที่ผ่านมา มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 7 ราย ใน 6 จังหวัด (ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว เชียงราย สงขลา และศรีสะเกษ) และปี 2557 นี้ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 27 พฤษภาคม 2557 มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต 3 ราย อยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และสงขลา ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่สุนัขไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคครอบคลุม (น้อยกว่าร้อยละ 80) และผู้ที่เสียชีวิตไม่ไป
พบแพทย์หลังจากถูกสุนัขหรือแมวกัดข่วน

          ขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้เร่งสร้างพื้นที่ในชนบทและเขตเมืองทั่วประเทศ ให้ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2558 เพื่อกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า
ให้หมดไปจากประเทศภายในปี พ.ศ.2563 ตามเป้าที่อนามัยโลกและองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศกำหนด โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข
ตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของสุนัขที่มีในหมู่บ้าน
          นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า โรค พิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ สัตว์นำโรคได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น ชะนี กระรอก กระแต กระต่าย ลิง ค้างคาว หรือแม้กระทั่งสัตว์เศรษฐกิจ วัว ควาย แพะ สัตว์ นำโรคที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย คือ สุนัข ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่าร้อยละ 95 มีสาเหตุมาจากสุนัขกัดหรือข่วน รองลงมาคือ แมว ซึ่งสามารถตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในน้ำลายได้ 1-7 วัน ก่อน แสดงอาการโรคพิษสุนัขบ้า อาการของโรคพิษสุนัขบ้าที่พบในคน ระยะฟักตัวอาจสั้นมาก คือไม่ถึงสัปดาห์ หรืออาจนานเกิน 1 ปี อาการในคนเริ่มแรก คือ เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย มีอาการคันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัดแล้วอาการคันลามไปส่วนอื่น ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง เพ้อเจ้อ กลืนลำบาก โดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ ปวดท้องน้อยและกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง อัมพาต หมดสติ และตายในที่สุด โอกาสที่จะเจ็บป่วยหลังถูกสัตว์ที่ป่วยหรือมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือ ข่วนขึ้นอยู่กับ
          1. จำนวนเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่เข้าไปในร่างกาย ซึ่งบาดแผลที่ถูกกัดมีขนาดใหญ่ ลึกหรือมีบาดแผลหลายแห่งจะมีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้มาก 2. ตำแหน่งที่ถูกกัดหรือตำแหน่งที่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกาย เช่น ศีรษะ หรือบริเวณที่มีปลายประสาทมาก เช่น มือหรือเท้า เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ระบบประสาทได้ง่าย 3. อายุของคนที่ถูกสุนัขกัดหรือข่วน เช่น เด็กและผู้สูงอายุจะมีความต้านทานต่อโรคพิษสุนัขบ้าต่ำกว่าคนหนุ่มสาว และ 4. สายพันธุ์ของเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าเป็นสายพันธุ์จากสัตว์ป่า จะมีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์จากสัตว์เลี้ยง
          การป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า คือ 1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 2-4 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี แม้จะเป็นสุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้านเพราะอาจถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า กัด
ขณะที่เห่าบริเวณช่องรั้วบ้าน หรือถูกกัดขณะเจ้าของเปิดประตูบ้านโดยที่เจ้าของไม่ทราบ หรือจากสุนัขที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ 2. ปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย คือ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ และอย่ายุ่ง เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด (อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง, ตัว, ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ) 3. เมื่อถูกสุนัขกัด
ให้ล้างแผลให้สะอาด และรีบไปพบแพทย์ ส่วนสุนัขที่กัดให้ขังดูอาการเป็นเวลาอย่างน้อยเป็นเวลา 10 วัน
          "โรค นี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้ หากติดเชื้อและมีอาการแล้ว เสียชีวิตทุกราย ป้องกันได้ด้วยการนำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนด ถ้าถูกสุนัขหรือสัตว์กัดข่วน ให้รีบล้างแผล ใส่ยา กักหมา
หาหมอ หรือรีบไปพบแพทย์ทันที ประชาชน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน 
สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร 0-2590 3177-78 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422" นายแพทย์โสภณ กล่าว

          ที่มา : เว็บไซด์ไทยรัฐออนไลน์,สสส.
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต