
แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเข้าใจและการรู้ เท่าทันเทคโนโลยีแต่
ประเด็นที่จะละเลยไม่ได้คือเรื่องพฤติกรรมการใช้และการ คำนึงถึงการใช้งานที่เหมาะสมตั้งแต่ต้น
กรณีนี้ พ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบาย ว่า ผู้ใช้งานเทคโนโลยีทุกวันนี้มักคิดว่าพื้นที่โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ส่วนตัว และไม่ค่อยระมัดระวังซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้กับเยาวชนและคนทั่ว ไปให้เข้าใจใหม่ว่า ความเป็นส่วนตัวแม้จะเป็นเรื่องสำคัญแต่ทุกวันนี้ความเป็นส่วนตัวไม่ได้เกิด ขึ้นจริงในโลกออนไลน์
พ.ญ.พรรณพิมลยังเปิดเผยว่า คนจำนวนหนึ่งมักมีค่านิยมอยากบันทึกประสบการณ์เช่น ความทรงจำกับคนรักคนแรก เมื่อค่านิยมนี้ประกอบกับความเข้าใจผิดเรื่องพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้ในบริบทพื้นที่ที่อยู่กันอย่างส่วนตัว แต่จริงๆแล้วสังคมอยู่กับเราตลอด
โดยเฉพาะสำหรับบุคคลมีชื่อเสียง หรือกลุ่มดาราศิลปิน ซึ่งกลุ่มนี้มีขอบเขตความเป็นส่วนตัวไม่ชัดเจน และมักตกอยู่ท่ามกลางความสนใจของคนหมู่มากจนอาจถึงขั้นถูกแทรกแซงได้
สำหรับแนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ พ.ญ.พรรณพิมลเปิดเผยว่า ผู้ปกครองหรือผู้ที่ใกล้ชิดควรให้ความรู้และแสดงให้เห็นว่า จะเติบโตและใช้ชีวิตอยู่กับเครื่องมือเหล่านี้อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องยอมรับว่าจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ จากบทเรียนที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการ บันทึกข้อมูลต่างๆมีช่องโหว่และมีความเสี่ยงอย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานสามารถลดความเสี่ยงด้วยการยับยั้งชั่งใจและคิดก่อนด้วยความรอบคอบ และต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งในหลายประเทศจะมีการแนะนำครูให้สอนผู้เรียนและผู้ใช้เทคโนโลยีในเรื่อง นี้ด้วย
ที่มา : มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต