"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ภัยร้ายของ เครื่องดื่มรสหวาน

นาทีนี้ พิสูจน์แล้วว่า เครื่องดื่มมีน้ำตาล ที่ทำให้เกิดโรคอ้วน การที่น้ำตาลหวาน อยู่ในรูปของเหลว ทำให้ไม่สามารถกระตุ้น ศูนย์ในสมองที่ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ได้มากพอ เพื่อสนองความอิ่มและหยุดกิน
/data/content/25655/cms/e_bcijkqstz237.jpg
          น้ำอัดลม น้ำหวาน อาหารแป้ง ฟาสต์ฟู้ด ทำให้น้ำตาลทะลักพรวดเข้าเลือดในทันที ก่อให้เกิดการหลั่งทะลักของฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อให้ระดับน้ำตาลคงที่จนเกิดการดื้ออินซูลิน และอ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ
          คนอ้วนยังมีสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบมากในเลือด ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ สมองตีบเร็วกว่าอายุ แถมส่วนมากยังชอบอาหารไขมัน ซึ่งเมื่อรวมกับหวานจะทำให้กลไกกำจัดสารพิษ อัลไซเมอร์ในสมองบกพร่อง เกิดการสะสมพิษมากขึ้น และแม้ว่าระดับอินซูลินจะสูงในเลือด แต่
ในสมองกลับ ลดลง ดังนั้น คนอ้วนจึงสมองฝ่อมากและเร็วกว่าคนไม่อ้วน คำแนะนำคือ ควรกินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ทั้งนี้ เครื่องดื่มหวาน หรือน้ำอัดลม 1 แก้ว อาจมีน้ำตาล 12 ช้อนชา
          โดยธรรมชาติรสหวานเป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ หรือแม้แต่นม ดังนั้น เราจึงไม่ควรเติมน้ำตาลเพิ่มในอาหาร
/data/content/25655/cms/e_adflnosw1489.jpg
          ไม่กินน้ำตาลแล้วกินน้ำผึ้งแทนดีไหม น้ำผึ้งมีคุณสมบัติคล้ายน้ำเชื่อม แต่มีข้อดีกว่าที่มีสารอาหารอื่นๆ เป็นองค์ประกอบด้วยคือ มีโปรตีนปริมาณเล็กน้อย มีวิตามิน และแร่ธาตุ แต่องค์ประกอบหลัก 80% ของน้ำผึ้งคือ น้ำตาล ดังนั้น น้ำผึ้งจึงไม่แตกต่างจากน้ำเชื่อมทั่วไป แต่รสของน้ำผึ้งจะหวานมากกว่า เนื่องจาก มีน้ำตาลฟรุคโตสเป็นองค์ประกอบอยู่ค่อนข้างมาก และหวานกว่าน้ำตาลกลูโคส 1.3 เท่า ดังนั้น ถ้าใช้น้ำผึ้งแทนน้ำตาลต้องลดปริมาณการเติมลง
          ฟรุคโตสเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในธรรมชาติ พบมากในผลไม้ทั่วไป อาจอยู่ในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรืออาจอยู่คู่กับน้ำตาลกลูโคสในรูปน้ำตาลทราย หลังจากกินฟรุคโตสโดยเฉพาะที่ได้จากการสกัด ระดับน้ำตาลในเลือดจะไม่ขึ้นสูงมาก เนื่องจากมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และสามารถเข้าเซลล์ได้โดยไม่ต้องอาศัยอินซูลิน ฟังดูเหมือนจะดีและเหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
          แต่แท้จริงแล้ว ฟรุคโตสมีกลไกการเผาผลาญที่แตกต่างจากกลูโคส ตรงที่สามารถเผาผลาญได้เฉพาะที่ตับและกระตุ้นการสร้างไขมันทั้งที่ตับและใน เส้นเลือด ส่งผลให้ผู้ที่บริโภคฟรุคโตสมากเกินไป จะมีระดับไขมันไม่ดีชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และยังมีไขมันเกาะตับมากขึ้น
          นอกจากนี้ กินฟรุคโตสจะทำให้รู้สึกไม่อิ่ม เนื่องจาก ไม่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน และไม่ทำให้ฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มมีระดับสูงขึ้น ผลการศึกษาเมื่อต้นปี 2556 พบว่า ฟรุคโตสมีกลไกออกฤทธิ์ที่สมองต่างจากกลูโคส ทั้งในแง่การกระตุ้นให้อิ่มจะน้อยกว่ากลูโคส แถมหวานกว่า ติดใจรสชาติ และออกฤทธิ์ต่อสมองส่วนความสุขทำให้อยากกินอีก จึงมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนชัดเจน และมีภาวะดื้ออินซูลินเพิ่มขึ้น
/data/content/25655/cms/e_bghiorstuy78.jpg
          กินฟรุคโตสมากเกินไป อาจทำให้มีระดับกรดยูริกและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้ และเป็นคำตอบว่า ทำไมกินเครื่องดื่มรสหวาน ทั้งชาเขียว ชาขาว ที่โฆษณาว่าไขมัน 0% และไม่มีคอเลสเตอรอล ไม่มีน้ำตาล ซึ่งจริงๆ คือ ไม่มีกลูโคส แต่มีฟรุคโตสแทนยังอ้วน
          ผลเสียจะไม่เกิด หากกินผลไม้สด 1 ส่วน หรือ 6-8 ชิ้นคำ จะมีฟรุคโตส 2 ช้อนชา แต่ได้ใยอาหารที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล และช่วยชะลอการเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ และกากใยเป็นตัวป้องกันการสกัดสารพิษจากอาหาร เช่น จากไข่แดง เนื้อแดง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ และสมองเสื่อม
          รักษาชีวิตง่ายที่สุดคือ "เลิก" น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้คั้นแยกกาก ชาเขียว ชาขาว นมรสหวาน และลดการปรุงแต่ง

 ขอบคุณข้อมูลจาก สสส.
          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต