"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ขนมกรุบกรอบภัยร้ายใกล้ตัว

        /data/content/25722/cms/e_fgiklnuz5678.jpg  
          ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ส่วนตัวแล้วไม่ได้มีความคิดจะต่อต้านการรับประทานขนมของน้องๆ หนูๆ นะคะ เพราะขนมก็เหมือนกับอาหารประเภทอื่นๆ คือบางชนิดมีประโยชน์และบางชนิดรับประทานแล้วก็ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย ที่เห็นโดยทั่วไปก็คือ คุณพ่อคุณแม่มักจะคิดว่า การให้ลูกตัวเล็กรับประทานอาหารขนมขบเคี้ยว ขนมหวานหรือแม้แต่ไอศกรีมแค่ไม่กี่ครั้งต่อเดือน ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกและผิดค่ะ
          ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ถ้าสังเกตดูชั้นขายนมตามซูเปอร์มาเก็ตเราจะพบว่า มีนมชนิดที่
lactose free กับนม whole milk หรือจะนมไขมัน 0% ขณะที่วางอยู่ใกล้ๆ กันคือ น้ำนมถั่วเหลือง สำหรับเด็กที่แพ้นมวัว นั่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กสามารถพัฒนาการแพ้อาหารและสารอาหารได้ตั้งแต่ยังแบเบาะ ในทางตรงข้ามเด็กบางคนก็ไม่ได้มีอาการแพ้สารอาหารชนิดใดเลย ยังคงรับประทานนมวัวได้ตามปกติ นั่นก็เป็นเพราะ ความถี่และความทนของเด็กแต่ละคนมีไม่เท่ากัน เด็กบางคนสามารถรับประทานอาหารบางประเภทได้ แต่เด็กบางคนก็รับประทานไม่ได้ เพราะเมื่อรับประทานแล้วร่างกายจะแสดงผลออกมาโดยทันที รวมถึงจำนวนหรือปริมาณที่รับประทานเข้าไปก็ย่อมส่งผลเช่นเดียวกัน จะพบได้ว่า เด็กบางคนรับประทานน้อยแต่ก็แพ้ แต่เด็กบางคนรับประทานมากแต่ไม่แพ้ เป็นต้น
          เมื่อตอนที่แล้ว ได้เกริ่นถึงตัวร้ายทำลายสมองซึ่งนั่นก็คือ น้ำตาลและสารปรุงแต่งอาหาร ซึ่งสามารถอธิบายได้คร่าวๆ คือ เมื่อเรารับประทานน้ำตาลที่ไม่ดี หรือสารปรุงแต่งที่ไม่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ชีวเคมีของร่างกายทำงานไม่สมดุล ดังนั้น สมองในฐานะตัวควบคุมจะรีบส่งสัญญาณไปยังต่อมหมวกไต (เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่จะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้จำนวนกลูโคส ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในการทำงานของสมองมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนไกลโคเจนจะถูกสะสมในตับมากขึ้น)  เมื่อต่อมหมวกไตได้รับสัญญาณก็จะผลิต stress hormone (หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด) ออกมา เมื่อ stress hormone ออกมามากทำให้สมองส่งคำสั่งไปยังร่างกายส่วนต่างๆ ให้เคลื่อนไหวเพื่อลดภาวะความเครียดนั้น เพราะสมองรู้ว่า การเคลื่อนไหวเป็นการปรับให้ชีวเคมีของร่างกายกลับมาสู่จุดสมดุล
          ดังนั้น เราจะพบว่า เด็กที่ชอบรับประทานขนมหรืออาหารที่มีส่วนประกอบเหล่านี้มากๆ ตั้งแต่ยังเล็กๆ กลับกลายเป็นเด็กที่ชอบวิ่งไปมา อยู่ไม่นิ่ง กระโดด ไม่นั่งอยู่กับที่ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมเด็กเหล่านี้จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กสมาธิสั้นเมื่อโตขึ้น
          มหาวิทยาลัย Yale ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในสมองของเด็กที่รับประทานขนมเป็นประจำ (คือมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์) กับเด็กปกติแล้วพบว่า เด็กที่รับประทานขนมมีคะแนนน้อยกว่าเด็กปกติในด้านการเรียนและสมาธิในการ เรียน รวมถึงเด็กเหล่านี้มักจะมีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดเร็ว วิ่งไปมา ไม่สนใจเรียน หลังจากที่รับประทานขนมผ่านไป 3 ชั่วโมง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงทันที และมีแนวโน้มที่จะรับประทานขนมมากขึ้นเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่
          อ่านถึงตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจมีคำถามว่า ถ้าสารปรุงแต่งเป็นสิ่งไม่ดีแล้ว ทำไมจึงมีการอนุญาตให้เอามาใส่ใน/data/content/25722/cms/e_cdegnrswz458.jpgอาหาร ได้ คำตอบก็คือ สารปรุงแต่งเหล่านี้อาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่จะรับประทานก็จริง แต่ไม่ได้ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีความไวต่อสารปรุงแต่งต่างๆ
          อีกประการหนึ่งคือ ทางองค์การอาหารและยาเองไม่ได้ทดสอบถึงผลกระทบระยะยาวต่อผู้บริโภค ซึ่งก็มีบางกรณีที่สารปรุงแต่งบางประเภทเคยได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ก็ถูกถอดถอนการอนุญาตไปแล้ว แต่ยังคงถูกนำมาใส่ปรุงแต่งอาหารแล้วส่งขายมายังประเทศที่ไม่ได้ห้าม หรือยังไม่ได้รับการร้องเรียนก็มีได้เช่นเดียวกัน
          คำตอบสุดท้ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกฉลาดจริงๆ แล้ว ก็อยู่ตรงที่ว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงแต่งรสกลิ่นสี ไม่รับประทานขนมขบเคี้ยว ไม่รับประทานผงชูรส แต่เลือกรับประทานอาหารที่ได้คุณค่าและมีประโยชน์ (อย่างน้อยจนกว่าลูกจะอายุ 10 ปี) ได้หรือไม่
          ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตอบว่า "ได้" ก็เท่ากับว่า ตอนนี้คุณกำลังทำให้ลูกฉลาด (จากการไม่มีสิ่งรบกวนไปทำลายเซลล์สมอง) ไปแล้วครึ่งหนึ่งนั่นเองค่ะ
          "เมื่อเรารับประทานน้ำตาลที่ไม่ดี หรือสารปรุงแต่งที่ไม่มีประโยชน์ จะทำให้ชีวเคมีของร่างกายทำงานไม่สมดุล"


          ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย ดร.ปรียาสิริ มานะลันต์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต