"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เนื้อหมู จุดดำ อันตรายหรือไม่

/data/content/25672/cms/e_befgmquvw467.jpg
         ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลายๆคน เกิดอาการ "ตกใจ" กับข่าวเรื่องการพบสิ่งปนเปื้อนใน "เนื้อสุกรชำแหละ" มีลักษณะเป็นจุดดำๆ ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
          หลายคนสงสัย ว่า จุดดำๆ นั้น คืออะไร  เนื้อหมูขึ้นราหรือเปล่า  เป็น "ขนคุด" หรือขนที่อุดตันอยูในชั้นใต้ผิวหนัง ไม่โผล่ออกมาหรือเปล่า หลายคนวิตกว่าถ้าเผลอกินไปจะเกิดอันตรายหรือไม่  คำถามเหล่านี้ มีคำตอบ
         ข้อมูลจาก ​คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า เนื้อสุกรดังกล่าว ที่พบจุดสีดำๆ มีลักษณะเป็นหย่อมๆ หรือเป็นวงพื้นที่ (ปริมาตร) ประมาณ 0.5 x 2.0 x 5.0 หรือประมาณ10 ตร.ซม. ซึ่งกระจายห่างๆ กัน อาจจะมีตั้งแต่ 2-30 แห่ง ที่พบเฉพาะในชั้นไขมันใต้หนังหน้าท้องบริเวณราวนม รวมทั้งผนังอก ซึ่งไม่ได้พบทุกๆ ตัวนั้น ...
         จุดดำเหล่านั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจาการสะสมเม็ดสีชนิดเมลานิน (melanin) ซึ่งมีสีดำ
คล้าย ผ้าหรือกระ พบได้ในเนื้อเยื่อไขมันบริเวณหน้าท้อง เนื้อเยื่อเต้านม เนื้อเยื่อไขมันหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณท้องใกล้เคียงกับบริเวณเต้านม ของสุกรเพศเมีย  เป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่กำเนิด ในช่วงการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะแรก และมักพบในสุกรสายพันธุ์สีดำ หรือลูกผสมที่มีสายพันธุ์สีดำร่วม  พบได้น้อยในสุกรสีขาว   ความผิดปกติชนิดนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า seedy belly หรือ seedy cut  สุกรเพศผู้ มีโอกาสพบได้น้อย สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้  ได้มีรายงานการพบความผิดปกติที่เกิดจากการสะสมเม็ดสีเมลานินในเนื้อสุกรจาก การชำแหละ
         เนื้อสุกรชำแหละที่พบจุดดำในเนื้อเยื่อไขมันนี้ หากกินเข้าไป จะเป็นอันตรายหรือไม่
         "ยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคครับ แต่อาจจะทำให้ดูลักษณะเนื้อสุกรดูไม่สวย ไม่น่ารับประทานเท่านั้นเอง ดังนั้น ไม่ต้องตกใจครับ"
         ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ควรบริโภค
         1. เนื้อสุกรควรจะสด โดยดูจากสีของเนื้อ ซึ่งสีของเนื้อวัวจะแดงมากกว่าเนื้อสุกรและเนื้อไก่  และไม่มีสีเขียวแทรกอยู่ตาม กล้ามเนื้อหรือขอบๆ ก้อน  ฯลฯ  เมื่อ”กด”ดูไม่มีน้ำไหลออกมาหรือบุ๋มลงอย่างชัดเจน เนื้อที่สดจะหยุ่นและแข็งเล็กน้อย  ไม่มีน้ำแฉะ ๆ  แทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อ ไม่พบก้อน  หรือถุงน้ำ   ของพยาธิแทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อและไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
         2. แหล่งผลิต ควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด เชื่อถือได้ เนื้อสัตว์มีการเก็บรักษาคุณภาพเนื้อสัตว์อย่างถูกวิธี
         3. ราคา ราคาของเนื้อต้องเหมาะกับการบริโภค และคุณภาพของเนื้อ ให้เหมาะสมการปรุงอาหาร
         เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้ว ก็คงไม่ตกใจกับจุดดำที่เกิดขึ้นกันนะครับ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร  คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โทร 02-218-9719 www.vet.chula.ac.th


        ที่มา : อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร  คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เว็บไซต์แนวหน้า สสส

        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต