"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาสเตียรอยด์กับสุขภาพตา


ยาสเตียรอยด์กับสุขภาพตา

ยากลุ่มคอร์ติโคสตีรอยด์หรือที่เรียกสั้นๆ ว่ากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นจากฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกาย มีหลายประเภท เช่น เดกซ์ซาเมทาโซน เพร็ดนิโซโลน ฟลูออโรเมทาโลน เป็นต้น
ยา ออกฤทธิ์ลดการอักเสบและกดภูมิต้านทาน โดยมีผลต่อหลายระบบในร่างกาย จึงถูกนำมาใช้รักษาอาการอักเสบในโรคต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งรูปแบบการบริหารยามีทั้งในรูปยากิน ยาฉีด ยาพ่น ยาหยอดและยาป้าย
ใน ทางจักษุวิทยา นิยมใช้ยากลุ่มสตีรอยด์ในการรักษาการอักเสบในช่องหน้าลูกตา  เยื่อบุตาหรือกระจกตาอักเสบบางประเภท รวมทั้งการอักเสบหลังการผ่าตัด เป็นต้น
ยากลุ่มนี้มีข้อดีที่ลดการอักเสบได้ในหลายโรคโดยเฉพาะการอักเสบหรืออาการภูมิแพ้ชนิดที่เป็นรุนแรง
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้มีผลข้างเคียงได้หลายประการ

“ดวงตา” กับผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์

๑.ต้อหิน
ยากลุ่ม สตีรอยด์โดยเฉพาะในรูปยาหยอด หากหยอดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๒  สัปดาห์ขึ้นไป อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นและทำลายขั้วประสาทตา เกิดต้อหินจากการใช้ยาได้
ระยะแรกมักไม่มีอาการแสดงใด ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้นจะค่อยๆ สูญเสียลานสายตา ตาพร่ามัว จนระยะสุดท้ายเกิดตาบอดได้
การ รักษาในระยะแรก ควรรีบหยุดยาสตีรอยด์ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาแล้ว  ภายหลังหยุดยาความดันลูกตาอาจลดลงจนปกติได้ แต่ถ้าต้อหินเป็นระยะรุนแรงแล้ว แม้หยุดยา ความดันลูกตาอาจไม่ลดลง อาจพิจารณาให้ยาลดความดันลูกตา เพื่อชะลอการสูญเสียสายตา และตรวจติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
๒. ต้อกระจก
เกิดได้ทั้งในรูปยาหยอดและยากิน ยาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาขุ่นขึ้นและเป็นต้อกระจกบางชนิดได้
ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวโดยค่อยๆ มัวคล้ายหมอกฝ้าบัง และเมื่อเป็นแล้วการหยุดยาสเตียรอยด์มักไม่ทำให้เลนส์ตากลับมาใสเป็นปกติได้
ถ้าต้อกระจกเป็นมากขึ้นจนมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจต้องพิจารณารักษาโดยการผ่าตัดต้อกระจก
๓.การติดเชื้อของตา
ยา ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ แต่ขณะเดียวกันยาก็มีฤทธิ์ลดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เพิ่มโอกาสเกิดการติดเชื้อบางอย่าง เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ของลูกตาได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อกลุ่มไวรัสเริม เป็นต้น
๔.ผิวหนังเปลือกตาบางตัวลง
มัก เป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ จากยาหยอดหรือยาป้ายตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อและเซลล์เม็ดสีที่บริเวณเปลือกตาทำให้ ผิวหนังบริเวณดังกล่าวบางตัวและสีดูจางลง
๕.ผลข้างเคียงอื่นที่พบได้ เช่น หนังตาตก รูม่านตาขยายโตขึ้น  
มัก พบในรูปยาหยอด สาเหตุไม่ทราบชัดเจน เชื่อว่ายาสเตียรอยด์ไปมีผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อยกเปลือกตาและ กล้ามเนื้อหดรูม่านตาให้ทำงานลดลง จึงมีหนังตาตกและรูม่านตาขยายโตขึ้นได้

ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างปลอดภัย ทำอย่างไร
๑.เมื่อมีอาการผิดปกติทางตา เช่น อาการตาแดง คันเคืองตา ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มสตีรอยด์ ก่อน ไม่ควรซื้อยาหยอดที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์มาใช้เอง โดยสามารถสังเกตได้จากฉลากที่เขียนกำกับข้างขวดยา เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากยาได้โดยไม่รู้ตัว
๒.ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาหยอดกลุ่มสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรมาตรวจติดตามพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับความถี่ของยา ขนาดยา และระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม
๓.หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตามัว หรือหยอดยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
จะ เห็นได้ว่ายากลุ่มสเตียรอยด์ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาของเราได้ จึงควรใช้ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการ ใช้ยาที่ไม่เหมาะสมได้ เพื่อการมีสุขภาพตาที่ดี

ข้อมูลสื่อ

399-014
นิตยสารหมอชาวบ้าน 399
พญ.สุนทรี ธิติวิเชียรเลิศ
ที่มา : หมอชาวบ้าน 
ภาพประกอบจาก internet