"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

อย.เผย ลักษณะผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องห้าม อย่าซื้อ อย่าใช้ มอบคาถา 4 ไม่ ป้องกันก่อนแก้


อย.เผย ลักษณะผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องห้าม อย่าซื้อ อย่าใช้ มอบคาถา 4 ไม่ ป้องกันก่อนแก้

อย.เผย ลักษณะผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องห้าม อย่าซื้อ อย่าใช้ มอบคาถา 4 ไม่ ป้องกันก่อนแก้
อย.เผย ลักษณะผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องห้าม อย่าซื้อ อย่าใช้ มอบคาถา 4 ไม่ ป้องกันก่อนแก้
           อย. เตือนผู้บริโภค อย่าเชื่อ อย่าซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง ต้องห้าม  พร้อมมอบ คาถา 4 ไม่ที่ต้องไม่ซื้อไม่ใช้เด็ดขาด คือ 1. ไม่มีฉลากภาษาไทย 2. ไม่ขออนุญาตกับ อย. 3. ไม่แสดงชื่อที่ตั้งผู้ผลิต  4. ไม่บอกความจริงผู้บริโภค หรือโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
          ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องห้ามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) มักตรวจพบอยู่เสมอ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่ ไม่มีเครื่องหมาย อย. อาหารปลอม อาหารหมดอายุ ไม่มีฉลากภาษาไทย และโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่
อ้างสรรพคุณเสริมสมรรถภาพ  ทางเพศ อ้างช่วยลดน้ำหนัก อ้างทำให้หน้าอกโต และอ้างทำให้ผิวขาวเนียน ผลิตภัณฑ์ยา ไม่แสดงเลขทะเบียนตำรับ สถานตั้งผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียน เช่น ยาฉีดสำหรับผิวขาวใส กลูต้าไธโอน ยาลดความอ้วนผสมสารไซบูทรามีน และยาที่เพิกถอนทะเบียนตำรับยาแล้ว เช่น ไซบูทรามีน   ยาที่อ้างรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิต อ้างว่าเป็นยาบำรุงกาม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  อ้างทำให้โครงหน้ายกกระชับ ขยายทรวงอก อ้างรักษาสิว ช่วยกระชับช่องคลอด
ด้วยความห่วงใย อย.จึงขอมอบคาถา 4 ไม่ หากมีลักษณะดังนี้ต้องไม่ซื้อ ไม่ใช้เด็ดขาด คือ
  1. ไม่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ต้องแสดงฉลากภาษาไทย  พิมพ์ด้วยอักษรที่ชัดเจน และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ วันเดือนปีที่ผลิต และ/หรือ วันเดือนปีที่หมดอายุ ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต เป็นต้น
  2. ไม่ขออนุญาตกับ อย. ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ดูได้จากผลิตภัณฑ์อาหารต้องมีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. ส่วนผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. บนฉลาก แต่ยาจะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 9999/46 เครื่องสำอางต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก 
3. ไม่แสดงชื่อที่ตั้งผู้ผลิต หากพบว่าไม่แสดงหลักแหล่งผู้ผลิตที่ชัดเจนจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่น่า ไว้วางใจ เพราะเมื่อพบปัญหาก็ไม่สามารถร้องเรียนและเอาผิดกับผู้ผลิตนั้นได้ และ 
4. ไม่บอกความจริงผู้บริโภค หรือโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง  ทำให้เสียโอกาสในการรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังต่าง ๆ  เพราะหากบริโภคผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้ จนละเลยการไปพบแพทย์ หรือละเลยการใช้ยาประจำตัวอาจทำให้โรคกำเริบจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด

ที่มา : อย.