
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นโอกาสดีที่เว็บไซต์วิชาการ.คอมได้รับเกียรติจาก นายแพทย์วิรุณ โทณะวณิก แพทย์
และอาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งต่อมลูกหมาก
มาให้ความรู้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโดยไม่ต้องผ่าตัด
ไม่ต้องฉายรังสี ไม่ต้องให้เคมีบำบัด ไม่ต้องไปตัด!!! แต่ใช้ "การฝังแร่" แพทย์
ที่ประจำอยู่ที่อเมริกา แต่ปัจจุบันบินกลับมาประเทศไทยปีละ 4
ครั้ง เพื่อมารักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก นายแพทย์วิรุฬเล่าให้ฟังว่า
ประมาณ 8-9
ปีที่แล้ว
มีเพื่อนนักธุรกิจบินไปให้รักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการฝังแร่ถึงที่สหรัฐ
อเมริกา เพราะตอนนั้นที่เมืองไทยก็ยังไม่มีคนที่มีประสบการณ์มาก
ซึ่งเพื่อนคนนี้รู้จักกับผู้อำนวยการที่โรงพยาบาลปิยะเวท
ที่มีทั้งหมอและครอบครัวของคุณเฉลียว อยู่วิทยา
ซึ่งทางผู้บริหารของทางโรงพยาบาลก็สนใจจึงได้ทำสัญญาว่าจ้างกันอยู่ 6 ปี
แต่ตอนนั้นผู้ป่วยที่มารักษาน้อยมาก ที่โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นช่วงเริ่มต้น ยังมีคนไข้ไม่มากคือไม่เกิน 5 ราย ต่อครั้งที่เดินทางมา
หลังจากนั้นก็ออกจากโรงพยาบาลปิยะเวทและมาติดต่อที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์
3 เมื่อเดือนธันวาคม 2556 จนเดือนกุมภาพันธ์ 2557
ก็เริ่มจัดซื้อเครื่องมือและหาคนไข้
ซึ่งครั้งนี้มีผู้ป่วยตอบรับสนใจค่อนข้างเยอะขึ้น
มีผู้ป่วยหลากหลายทำให้เป้็นประโยชน์ต่อคนไทยที่มีกำลังสามารถรักษาได้
เพราะวิธีรักษาแบบฝังแร่นี้คนไข้ 30 บาทและประกันสังคม
ยากที่จะรักษาได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง
แค่ตัวแร่ที่นำมาจากอเมริกาก็สูงถึง 200,000 บาท
ซึ่งการรักษาจะคิดเป็นโปรแกรมค่ารักษาที่ต้องเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล 3 วัน 2
คืน อยู่ที่ 650,000 บาท
และยังไม่รวมค่าจิปาถะอื่นๆอีกเล็กน้อยอย่างเช่นยาที่จำเป็น
ดังนั้นคนไข้ต้องมีเงินจ่ายหรือต้องเป็นคนไข้ที่ประกันจ่ายให้ถึงจะทำได้
ซึ่งการรักษาแบบฝังแร่นั้นมีประสิทธิภาพดีมาก
อัตราการหายขาดในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกอยู่ที่ 97% ระยะ 2 และ 3
ก็ต่ำลงมา การ
ฝังแร่เข้าไปในต่อมลูกหมากนี้จะทำการรักษาเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
ไม่มีการทำซ้ำอีก
ซึ่งผลข้างเคียงระยะยาวหลังการฝังนั้นมีน้อยมาก เช่นไม่มีอาการปัสสาวะรั่ว
และสมรรถภาพทางเพศของชายอยู่ได้ยาวนานกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น ถือเป็นข้อ
ดีของการฝังแร่เพราะเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆแล้ว เช่น
การผ่าตัดจะต้องผ่าตัดหน้าท้องตั้งแต่สะดือลงไปถึงหัวหน่าว
ซึ่งมีโอกาสที่ปัสสาวะรั่วต้องใส่ผ้าอ้อมตลอดชีวิต
และหมดสมรรถภาพทางเพศ การฉายรังสีเวลาฉายรังสีไปที่ต่อมลูกหมากก็ต้อง
ผ่านอวัยวะอื่นรอบๆต่อมลูกหมากจึงมีผลข้างเคียงต่อลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ
อัตราการหายขาดสู้การฝังแร่ไม่ได้ ฉายแสงต้องไปทุกวันอาทิตย์ละ 5 วัน
อย่างน้อย 8-9 อาทิตย์ และก็มีโอกาสเกิดปัสสาวะรั่วได้เช่นกัน
ส่วนสมรรถภาพทางเพศก็อาจเสียไปประมาณ 50%
หรือการตัดต่อมลูกหมากที่ฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อย แต่ปัสสาวะรั่ว หมดสมรรถภาพทางเพศ และอัตราการหายขาดเหมือนแบบผ่า และมักพบว่ามักตัดเอาเนื้อเยื่อมะเร็งออกไปไม่หมดถึง 30-40% ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้จะไม่พบเลยเมื่อทำการฝังแร่
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำโดยตรวจเลือดเพื่อดูค่า PSA (Prostate-Specific Antigen Test) ค่าของสาร
จำพวกโปรตีนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างโดยต่อมลูกหมากและเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก
เป็นสารที่มีหน้าที่ป้องกันการจับเป็นก้อนของน้ำอสุจิ
โดยทั่วไปในคนปกติจะตรวจพบในกระแสเลือดได้ในประมาณน้อยๆ
และมักค่อยๆสูงขึ้นช้าๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น ค่า PSA
ที่ตรวจแต่ละครั้งในเวลาที่ต่างกันอาจไม่เท่ากันเสมอไปมีสูงมีต่ำได้ เช่น
คนที่ปั่นจักรยานบ่อยๆค่า PSA จะสูงกว่าคนที่ไม่ได้ปั่น
เพราะต่อมลูกหมากอยู่ห่างจากอานจักรยานแค่นิดเดียว โดยเฉพาะอานที่แข็งๆ
ถ้าปั่นมากๆอาจทำให้
ต่อมลูกหมากอักเสบได้ หากจะทำการตรวจวัดค่า PSA ต้องหยุดขี่จักรยาน 3-4 วัน
เพราะอาจทำให้ค่าที่ได้จากการวัดคลาดเคลื่อนได้
ส่วนค่าที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติคือน้อยกว่า 4 ng/ml
จากนั้นทำการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนการรักษาแบบ random
biopsy คือการสุ่มตรวจเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากหาเซลล์มะเร็ง
ก่อนให้การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
โดยจะยิงไปให้ทั่วๆถ้าเข็มเจอมะเร็งก็จะวินิจฉัยได้
ตัวนายแพทย์วิรุฬใช้วิธีเจาะเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ไม่เหมือนหมอคนอื่นๆใน
ประเทศไทยทำกัน คือปกติจะใช้อัลตราซาวด์ใส่เข้าไปทางทวารหนัก
แล้วยิงเข็มแรกของอัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนักข้างหน้าเข้าไปในต่อมลูกหมาก
ซึ่งมีโอกาสที่จะติดเช่ื้อ Escherichia coli บาง
คนติดเชื้อสามารถถึงแก่ชีวิตได้
ส่วนของนายเพทย์วิรุฬจะทำโดยใส่อัลตราซาวด์ไปทางทวารหนัก
และจะเจาะเข็มเข้าไปทางฝีเย็บ (perineum)
ฝีเย็บไม่มีของสกปรกอะไรเป็นแค่เนื้อหนังธรรมดา
เวลาเจาะจะดึงอัณฑะและองคชาติขึ้นมาแล้วเจาะเข้าไป ประมาณ 40 กว่าชิ้น
ซึ่งถ้าเจาะทางทวารหนักจะเจาะได้มากที่สุดเพียง 12 ชิ้น
เจาะน้อยชิ้นโอกาสพบมะเร็งก็น้อยกว่าเจาะมากชิ้น
ในผู้ป่วยรายหนึ่งที่เคยเจาะปรากฎว่าเจาะไป 40 กว่าชิ้น
เจอที่เป็นมะเร็งอยู่ 7 ชิ้น ดังนั้นเจาะเยอะก็จะมีโอกาสมากกว่า
ลักษณะการทำ Random biopsy และการฝังเมล็ดแร่
ในการรักษานั้นแร่ที่นำมาใช้รักษาคือแร่ไอโอไดด์-125
ตัวไอโอไดด์นั้นเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีค่าครึ่งชีวิต (half life) อยู่ที่
60 วัน ซึ่งจะสั่งจากโรงงานเมื่อขนส่งมาค่า half life ก็จะค่อยๆลดลง
พอถึงมือหมอก็จะอยู่ในระยะที่จะใช้พอดี
ซึ่งจริงๆแล้วตัวธาตุกัมมันตรังสีที่ใช้นั้นมีอยู่ 3 ชนิดก็คือ ไอ
โอไดด์-125 สามารถอยู่ในร่างกายมนุษย์เป็นเวลา 1 ปี
จากนั้นก็จะหมดประสิทธิภาพ, "พาเลเดียม 103" อยู่ในร่างกายได้นาน 4 เดือน
และ "ซีเซียม 131" จะอยู่ในร่างกายราว 2-3
เดือน สารกัมมันตรังสีนี้จะถูกบรรจุลงในเมล็ดแร่ไทเทเนียมที่ไม่มีผลใดๆ
ต่อร่างกาย และที่เลือกไอโอไดด์มาใช้รักษาในประเทศไทย
ก็เนื่องจากต้องสั่งมาจากอเมริกา
ดังนั้นกว่าจะส่งมาถึงประเทศไทยและถูกนำมาใช้
ค่าครึ่งชีวิตก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
จึงต้องเลือกธาตุที่มีค่าครึ่งชีวิตมากที่สุดมาใช้ในการรักษา
แร่
ที่ใช้สามารถใช้ได้กับอวัยวะที่เป็นมะเร็งตำแหน่งอื่นได้เช่นกันโดยเป็นที่
ที่ไป
อย่างการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากนี้เป็นการใช้แร่ฝังแบบถาวรจะอยู่ตลอดไปจน
กว่าไอโซโทปจะหมดแล้วสลายไปเอง อีกแบบคือฝังแบบชั่วคราวจะใช้แร่อิริเดียม
ต้องใช้ 2-3 ครั้ง
แร่อิริเดียมมีพลังงานสูงมากซึ่งต้องมีห้องที่มีการป้องกันอย่างดี
วิธีการยุ่งยาก ต้องป้องกันทั้งผู้ป่วย แพทย์ผู้รักษา และคนรอบๆคนไข้
เป็นการสูญเสียทรัพยากรของโรงพยาบาลอย่างมาก จึงไม่ควรใช้
รังสีที่ออกมาจากตัวแร่นั้นคือรังสีแกมมา (Gamma ray) จะ
ไปทำลายโครงสร้างสายคู่ของ DNA ทำให้ทำงานไม่ได้เซลล์ตายในที่สุด
ซึ่งมีผลต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก
และเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากก็จะถูกทำให้ฝ่อไปด้วย แต่ตัวต่อมลูกหมากของผู้ชาย
ที่มีอายุมากมีหน้าที่แค่ผลิตน้ำอสุจิเท่านั้นไม่ได้ผลิตอสุจิด้วยเนื่อง
จากอสุจิผลิตจากลูกอัณฑะ ดังนั้นเมื่อฝังแร่ไปแล้ว
ผู้ป่วยชายที่เคยทำการรักษาเมื่อถึงจุด climax น้ำอสุจิจะลดลงหรือแห้งไปเลย
บางคนที่ไม่พอใจก็อาจต้องใช้ตัวช่วย แต่ก็ไม่มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศของชาย
แต่อย่างใด
เพราะการฝังแร่ไม่ได้ไปตัดเส้นประสาทที่ควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ผู้
ป่วยที่ฝังแร่นี้สมรรถภาพทางเพศจะค่อยๆหมดไปก็ด้วยอายุที่มากขึ้น
หรือมีโรคภัยไข้เจ็บแทรกซ้อนอย่างเป็นเบาหวาน หรือมีความดัน เป็นต้น
พวกนี้ยังมีเส้นประสาทอยู่กินไวอากร้าก็อาจจะช่วยได้ แต่การรักษาโดยการตัด เส้นประสาทจะโดนตัดไปทำให้ความรู้สึกทางเพศเหล่านี้หายไปเลย กินไวอากร้าก็ไม่เป็นผล
การรักษาโดยการฝังแร่นั้น
เมื่อทำการฝังแร่ลงไปในต่อมลูกหมากแล้วจะออกฤทธิ์ทันที
ซึ่งการฝังจะฝังบนต่อมลูกหมาก โดยไม่ได้กำหนดเป้าหมายของเซลล์มะเร็งใดๆ
การฝังแร่นั้นจะขึ้นอยู่กับแพทย์ว่าจะสั่งให้บรรจุธาตุกัมมันตรังปริมาณเท่า
ไหร่ต่อในหนึ่งเมล็ดไทเทเนียม (เมล็ดแร่ที่นำมารักษานั้นทำด้วยไทเทเนียมไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย) ซึ่งการวินิจฉัยก็จะขึ้นกับผู้ป่วยด้วย โดยมักจะฝังให้มีปริมาณเมล็ดแร่น้อยที่สุด จำนวนของการฝังเมล็ดแร่ (จากภาพคือบริเวณจุดสีฟ้า) นั้น
ไม่ได้ขึ้นกับว่าผู้ป่วยมีเซลล์มะเร็งมากน้อยแค่ไหน
แต่จะแปรผันกับขนาดของต่อมลูกหมากของแต่ละบุคคล
หลังจากการฝังสารกัมมันตรังสีจะออกฤทธิ์ทันที
โดยการแผ่รังสีแกมมาออกมาเพื่อไปทำลายโครงสร้างสายคู่ของ DNA ของเซลล์
หลังการฝังแร่จะทำการเจาะเลือดตรวจดูผลว่าการรักษาได้ผลดีแค่ไหน โดยดูค่า PSA เช่นเดียวกับตอนตรวจคัดกรอง ใน
ผู้ป่วยที่รักษาแบบตัดเอาต่อมลูกหมากออก ถ้าตัดแบบครบถ้วนจะตรวจค่าของ PSA
ไม่พบเลย
แต่ถ้าตรวจไปเรื่อยๆแล้วค่าเพิ่มขึ้นก็หมายถึงว่ามะเร็งโตขึ้นมาอีกแล้ว
แสดงว่าตัดไม่หมดก็ต้องไปฉายแสงอีก
จากการรักษาโดยการฝังแร่มายังไม่เคยรักษาในผู้ป่วยหนึ่งคนมากกว่า 1 ครั้ง
เพราะหากกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่หายขาด อย่างผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในขั้นที่
2-3 ก็ต้องรักษาโดยการฉายแสงต่อ
หรือให้ฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนเป็นอาหารของมะเร็งต่อมลูก
หมาก เหมือนเอสโตรเจนที่เป็นอาหารของมะเร็งเต้านมในเพศหญิง
ถ้าไปบล็อกฮอร์โมนเพศชายก็จะทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเติบโตน้อยลง เทสโทสเต
อโรนนั้นเป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีมากที่สุดในร่างกายถูกสร้างที่ลูกอัณฑะ
ต่อมหมวกไต และไขมันในร่างกาย
นอกจากนี้มะเร็งบางตัวยังสามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัว
เองได้ด้วย
ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในเบื้องต้นจะไม่มีการแสดงอาการใดๆ
จะรู้ว่าเป็นก็ต่อเมื่อตรวจพบเท่านั้น ดังนั้นคนที่มีอายุ 50
ปีขึ้นไปแล้วและไม่มีประวัติในครอบครัว ควรจะตรวจ PSA ทุกปี
ส่วนครอบครัวที่มีประวัติควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 35-40
ปี การตรวจหาว่ามีมะเร็งต่อมลูกหมากที่ยังไม่แสดงอาการซ่อนอยู่ในผู้ป่วยราย
นั้นหรือไม่ ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น จะมีการรั่วของสาร
PSA ออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ตรวจพบค่า PSA สูง
นำไปสู่การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นได้มากขึ้น
แต่การตรวจพบค่า PSA สูงเพียงอย่างเดียว
ยังไม่เพียงพอในการสรุปว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ต้องใช้การวินิจฉัยแบบ random biopsy ด้วย
การพักฟื้นหลังทำการรักษา ในอเมริกาผู้
ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการรักษาเพียง 1 ชั่วโมง
แต่ในประเทศไทยจะให้พักฟื้นได้ 1 วัน
หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยตามปกติ ใน 1-2
ครั้งแรกที่มีเพศสัมพันธ์อาจมีเลือดปนออกมาได้กับน้ำอสุจิเล็กน้อย
การอุ้มเด็กก็อุ้มได้โดยต้องอุ้มให้สูง อาจจะอุ้มได้ 15 นาทีต่อวัน ใน 2
เดือนแรก แร่ที่ฝังนี้มีระยะทางที่มีผลกระทบ (relation
range) สั้นมากไม่ต้องระวังอะไร กิจกรรมที่ทำในอาทิตย์แรกก็อย่าเพิ่งไปวิ่ง ขี่จักรยาน ขี่ม้า ซึ่งอาจทำให้กระทบกระเทือนได้
ข้อเสียของวิธีการฝังแร่ คือ
เมื่อเราฝังเมล็ดแร่ลงไป เนื้อเยื่อในต่อมลูกหมากจะอักเสบแต่อาการจะไม่เกิด
ขึ้นในทันที แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึง 2
อาทิตย์จะอักเสบและเจ็บ การอักเสบใช้ระยะเวลานานหน่อยจึงหมดไป จะมีอาการ
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะอ่อนแรง ต้องรีบปัสสาวะ ตื่นนอนบ่อยครั้ง
แต่ก็จะมียาให้กินเพื่อลดอาการเหล่านี้อยู่แล้ว โดยต้องกินยาไปประมาณ 3-6
เดือน
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินก็จะออกใบรับรองให้ว่าสารรังสีที่
อยู่ในตัวใช้รักษาอาการป่วยไม่ใช่เพื่อก่อการใดๆ
สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ
1. กรรมพันธ์
2. การดำรงชีวิต เช่น เป็นโรคเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ มีความเครียด กินเนื้อแดงเยอะ สูบบุหรี่จัด กินเหล้า น้ำหนักเกิน
3. โชคไม่ดี คือพวกที่ไม่มีประวัติครอบครัวหรือไม่มีประวัติการใช้ชีวิตเสี่ยงเลย
การ มีเซ็กส์มาก-น้อย หรือขนาดของต่อมลูกหมากไม่เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่พบว่ามะเร็งที่โตเร็วมากๆขนาดต่อมลูกหมากจะเล็กผิดปกติ ซึ่งยังหาสาเหตุไม่ได้เหมือนกัน
สถิติ การเกิดโรคมะเร็งของชายไทยในปี 2556 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่ามะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งปอด 3. มะเร็งลำไส้ใหญ่ 4. มะเร็งต่อมลูกหมาก และ 5. มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องคอยเฝ้าระวังเช่นกัน
นายแพทย์วิรุณ โทณะวณิก จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และไปศึกษาต่อที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เมืองบัลติมอร์ มลรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา
เพราะสนใจการรักษามะเร็งด้วยรังสี
และเลือกที่จะศึกษาทางมะเร็งต่อมลูกหมากเพราะรู้สึกสนุกกับงานทางด้านนี้
เพราะมีผลประโยชน์เยอะต่อเพศชาย ในประชากรเพศชายของอเมริกาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากถึง 1 ใน 6 ในช่วงอายุ 80-90 ปี ไม่ว่าจะตรวจพบหรือไม่ตรวจพบ ถ้าตายไปแล้วตัดต่อมลูกหมากมาตรวจจะพบว่าเป็นมะเร็ง
นายแพทย์วิรุณกล่าวว่าในเมืองไทยไม่มีคนที่มีประสบการณ์ด้านการรักษามะเร็ง
ต่อมลูกหมากด้วยการฝังแร่มากเท่าคุณหมอ เพราะได้ทำการรักษามามากถึง 2,000
กว่ารายแล้ว ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่ศูนย์
รักษามะเร็งด้วยรังสีของคริสเตียน่าแคร์ มลรัฐเดลาแวร์
ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแพทย์เฉพาะทางในด้านการรักษามะเร็งต่อมลูก
หมากของมลรัฐตอนกลางทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะ
กลับมาทำการรักษาที่ประเทศไทยเพียงปีละ 4 ครั้ง โดยอยู่ครั้งละ 2
อาทิตย์เท่านั้น ส่วนใครที่สนใจจะศึกษาการรักษาแบบฝังแร่นี้
สามารถไปเรียนกับอาจารย์ได้ที่อเมริกาเท่านั้น
ซึ่งนายแพทย์วิรุฬกล่าวว่าถ้าเกษียณตัวเองจากที่อเมริกาแล้ว
ก็อาจจะกลับมาอยู่ที่ประเทศไทยเพราะมีบ้านอยู่ที่นี่เช่นกัน
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์ ที่นายแพทย์วิรุณมาประจำนั้นได้รับการรับรองมาตรฐานสากล JCI (Joint Commission International) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งมาตรฐาน JCI นี้เป็นมาตรฐานที่ถูกออกแบบมาเพื่อยกระดับคุณภาพความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย และสร้างความมั่นใจในสิ่งแวดล้อมสำหรับการดูแลที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยและบุคลากร โดยโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในจังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI
สุดท้ายนายแพทย์วิรุณฝากถึงผู้หญิง และผู้ชายว่า ให้ผู้หญิงช่วยกระตุ้นเตือนผู้ชายมาตรวจ PSA ปี
ละครั้ง คนที่มีอายุ 35-40 ปีในคนที่ครอบครัวมีประวัติ และ อายุ 50
ปีในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ ถ้าค่า PSA ขึ้นมา 1 หน่วยใน 1 ปี
ก็ควรไปหาหมอเพื่อตรวจเซลล์มะเร็งทันที
อ้างอิงเพื่อเติมจากเว็บไซต์ ณ วันที่ 23/05/2557
http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=55
http://www.nci.go.th/th/Journal/File_Download/thai%20cancer%20journal_33_Full_1.pdf
ที่มา : vcharkarn.com