"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคหัวใจล้มเหลวคืออะไร?

 ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Heart failure นั้น เป็นภาวะที่หัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการ
 /data/content/25686/cms/e_eghimqxz2346.jpg         ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถ เกิดได้จากสภาวะทางโรคหัวใจหลายชนิด ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า คาร์-ดิ-โอไม-ออป-พาตี้ (cardiomyopathy) โรคการอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจหรือของลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีอาการเหนื่อยง่าย หรือไอเมื่อออกแรงหรือออกกำลังหรือขณะพัก หายใจลำบาก แน่น หรือหายใจเหนื่อยหอบเมื่อนอนราบ และอาการอาจดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นนั่ง ตื่นขึ้นมาเมื่อนอนหลับไปแล้วเพราะเหนื่อย เพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย หน้าแข้งหรือข้อเท้าบวม แน่นในท้องเหมือน มีน้ำในท้อง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่ง ของน้ำ (ไม่ได้รับประทานอาหารมากขึ้น)
          การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความ
ร่วมมือที่ดี ระหว่างทีมแพทย์และพยาบาลกับผู้ป่วย ปัจจุบันมีการรักษามากมายขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละรายไป การรักษาดังกล่าว ได้แก่ การรักษาด้วยยา การใส่เครื่องกระตุ้น CRT การใส่เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน
          และรับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลสั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าวจะส่งผลคุณจะรู้สึกมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ คุณจะต้องสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดว่าคุณมีอาการผิดปกติซึ่งต้องรายงาน ให้แพทย์หรือพยาบาลทราบหรือไม่ คุณจะต้องมาติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน ปรับเปลี่ยนยา และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ปรับตัวอย่างไรเพื่อให้รู้สึกสบายและอยู่กับโรคหัวใจล้มเหลวนี้ได้


          ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน โดย รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์  รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต