"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใครว่า ไม่สำคัญ


          หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะ ที่เกิดความผิดปกติในการนำกระเสไฟฟ้าของหัวใจ  ส่งผลให้หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ โดยอาจจะมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้

         ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ มักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป มีปัจจัยกระตุ้นหลายอย่างที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียดวิตกกังวล และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
          ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็น อันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที แต่ในรายที่ไม่รุนแรงอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัว คล้ายจะวูบเป็น บางครั้ง ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบน หรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ถึงแม้บางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่ก้อเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือทำให้เกิดความพิการ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดบริเวณอวัยวะต่าง ๆได้


          การวินิจฉัยทำได้โดย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG  อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะ ตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจ อาจไม่พบความผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter  24  hr monitoring  ถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะดังที่กล่าวข้าง ต้น แต่ ถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณี หัวใจ เต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้าในปัจจุบันมีวิธีจะรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้า ผ่านสาย สวนหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้ในโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์เพียงพอการพบแพทย์ และรักษาแต่เบื้องต้น ช่วยให้ท่านปลอดภัย และหายจากโรคได้

ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์