"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หากท่านเจอ ผุ้ป่วยหัวใจหยุดเต้น !!!


สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น ส่วนใหญ่ เกิดจากโรคทางหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ ที่สาธารณะ หากท่านประสบเหตุ และสามารถให้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) อย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยชิวิต ผู้ป่วยให้มีชีพจรกลับมา และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ วิธีนี้ เป็น วิธีที่ไม่ซับซ้อน สามารถ ปฏิบัติตามได้ไม่ยาก โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

           1.เมื่อพบผู้ที่หมดสติ ไม่หายใจ หรือ หายใจไม่สะดวก หายใจเฮือก อันดับแรก ให้ โทรศัพท์ ตามหน่วยกู้ชีพ หรือ โรงพยาบาล เนื่องจาก เหตุการณ์ เกิดขึ้น ฉุกเฉิน บางคนอาจตกใจ จำเบอร์โทรศัพท์ ไม่ได้ ดังนั้น เราควรจะจดจำ หรือ บันทึก เบอร์โทรศัพท์ เผื่อโทรออกยามฉุกเฉิน เช่น 1609,1669 เป็นต้น

          2.ให้ผู้ป่วยนอนหงาย โดย นอนบนพื้นที่แข็ง ไม่ควรนอนบนเบาะฟูกที่นิ่มหรือหนามาก เพราะ แรงกดจะถูกดูดซับโดยฟูก แทนที่จะเป็น หน้าอกของผู้หมดสติ

          3.รีบทำการกดหน้าอกทันที วิธีที่ถูกต้อง ควรวางส้นมือข้างที่ถนัด บนหน้าอก ส่วนส้นมือ อีกข้างให้ประสานล็อคไว้กับมือข้างที่ถนัด ดังรูปประกอบ



          4. แขน เหยียดตรง ไม่งอไหล่ กดหน้าอก ด้วยความเร็ว อย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที อย่างต่อเนื่อง อย่ากระแทกแรงขณะกด ควรกดลึก อย่างน้อย 5 เซนติเมตร หลังกดแต่ละครั้งให้ปล่อยมือเต็มที่ เพื่อให้ ทรวงอกขยายคืนอย่างเต็มที่


          5. การช่วยหายใจทำได้โดยดันหน้าผาก- เชยคาง (Head tilt - Chin lift) แล้วทำการเป่าปาก โดย อัตราส่วน 30 ต่อ 2 คือ กดหน้าอก  30 ครั้ง เป่า ปาก 2 ครั้ง แต่ต้อง แน่ใจว่าไม่ได้มีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ เพราะหากมีกระดูกต้นคอหัก การขยับจะทำให้เกิดอันตรายได้ ปัจจุบัน อนุโลมให้มีการกดหน้าอก เพียงอย่างเดียว สามารถช่วยชิวิตผู้หมดสติได้เช่นกัน

          วิธีการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐานที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นการกู้ชีวิตผู้หมดสติ เบื้องต้น ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อไป อุปสรรค ที่สำคัญในปัจจุบัน คือ ผู้ประสบเหตุ ไม่ทราบวิธีช่วยเหลือที่ถูกต้อง หรือ ตกใจจน ลืมขั้นตอน ควรรีบติดต่อ เรียกรถพยาบาลที่มีอุปกรณ์ การช่วยชิวิตและเครื่องมือทางหัวใจครบครัน เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์