"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคหัวใจ โรคแอบแฝงที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรละเลย


จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกา ศเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60 - 75% เนื่องจากคนส่วนใหม่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะไม่แสดงอาการเลยไม่ได้ให้ความสนใจแต่เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรก ซ้อนแล้ว จึงเริ่มสนใจและรักษา นั่นอาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอสามารถลดโอกาสการเกิด อัมพฤกษ์อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้
1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่าง เช่น อายุ 18 ปี ความดันโลหิตเท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิตอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 มม.ปรอท

2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ตอนบ่ายอาจจะวัดได้ 140 มม.ปรอท และขณะนอนหลับอาจจะวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น

3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตมากขณะที่ได้รับความเครียดอาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท


4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง

5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า ผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัวหรือสิ่งแวดล้อมที่เคร่งเครียด ก็จะทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันดลหิตสูงขึ้นด้วนเช่นกัน

6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคใชนบท

7. เชื้อชาติ
พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าขาวอเมริกันผิวขาว

8. ประมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย

อาการของผู้ป่วยความดันโลหิต ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ
           ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆเลย หรือ มีอาการปวดศรีษะ มึนงง เวียนศรีษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ นอกจากนี้อาจจะมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจก่อทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณี ด้วยกันคือ

กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรงได้แก่ภาวะหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก

กรณีที่ 2 ภาวะ แทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่นกล้ามเนื้อขาดเลือดเฉียบพลันหรือรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวัดและอาจจะทำให้ถึงแก้ชีวิตได้ หลอดเลือดในสมองแตกตีบ เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตหรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถุงขั้นไตวายเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อน
   - หัวใจทำงานหนักขึ้นทำให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายในที่สุด
   - อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
   - เลือดอาจเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวาย จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
   - หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ

ป้องกัน...รักษาโรคหัวใจแทรกซ้อนจากการเป็นความดันโลหิตสูง
   - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเยาะๆ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ควรออกกำลังกายประมาณ 15 -20 นาที อย่างน้อย 3 - 6 ครั้ง/สัปดาห์
   - ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูง
   - ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่
   - ลดความเครียดของงานและภสวะแวดล้อม
   - ลดน้ำหนักตัวโดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง
   - รับประทานยา และพบแพทย์สม่ำเสมอ
ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์