"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ


การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษา 3 วิธี คือ ใช้ยา, ใช้วิธีการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน , และการ ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ (บายพาส) ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการรักษาทางยากับผู้ป่วย เพื่อควบคุมอาการ เจ็บหน้าอก หากปรับยาเต็มทึ่แล้วผู้ป่วยยังคงมีอาการอยู่ หรือ ตรวจเพิ่มเติม พบว่า มีอาการบ่งชี้ว่า เส้นเลือดตีบรุนแรง แพทย์ จะแนะนำ ให้ผู้ป่วยทำการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่า เส้นเลือดหัวใจ ตีบ มากน้อยเพียงใด



วิธีการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ทำในผู้ที่มีอาการอย่างไร // เพราะอะไร // ดีอย่างไร
          การสวนหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรง ว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด อุดตันกี่แห่ง สภาพหลอดเลือดที่อุดตัน สามารถทำการรักษาด้วยวิธีถ่างขยายหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูนได้หรือไม่  ข้อดีคือ การฟื้นตัวใช้ระยะเวลาน้อย สามารถลุกนั่งได้ ภายใน 6-12 ชั่วโมง  และแผลมีเพียงรอยเข็มบริเวณขาหนีบ และในปัจจุบัน มีเทคนิคการสวนหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ ใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า เพียง 4-6 ชั่วโมง สามารถ กลับบ้านได้ภายในวันที่ทำหัตถการได้

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังการทำบอลลูน ขยายเส้นเลือดหัวใจ
          ทานยาละลายลิ่มเลือดอย่างสม่ำเสมอ, วันแรก ควรเช็ดตัว แต่ หลังจาก 24 ชั่วโมงสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ , งดการขับรถใน 24 ชั่วโมง งดยกของหนัก และออกกำลังกายอย่างหนัก ใน 1-2 อาทิตย์แรก หลังจากนั้น สามารถปฎิบัติตนตามชีวิตประจำวันได้ตามปรกติ

การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ ทำในผู้ที่มีอาการอย่างไร // เพราะอะไร // ดีอย่างไร
          ผู้ที่มีเส้นเลือดตีบลักษณะเฉพาะบางอย่างการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจจะได้ผลการ รักษาที่ดีกว่า เช่น เส้นเลือดตีบบริเวณ ขั้วของเส้นเลือดหัวใจ  หรือ ผู้ที่มีเส้นเลือดตีบทั้ง สามเส้น ในผุ้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีการบีบตัวของหัวใจไม่ดี   แต่ข้อเสียคือ เป็นการผ่าตัดใหญ่ ต้องทำในโรงพยาบาล ที่มีความพร้อม และ อาศัยการพักฟื้น นานกว่า

การป้องกัน  และ วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร และการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ใหม่ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆลง เช่น
- ถ้าเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงอยู่ ก็ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง
- ถ้ามีระดับไขมันในเลือดสูงก็ต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร
- ในบางรายจำเป็นต้องใช้ยาปรับระดับไขมัน ควรเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด
- การลดน้ำหนักก็เป็นการช่วยลดภาวการณ์ทำงานของหัวใจ

           ซึ่งเมื่อร่วมไปกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องและทำอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการ ฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจส่วนหนึ่ง และอาจทำให้หลอดเลือดหัวใจดีขึ้น การผ่อนคลายความเครียดและการพักผ่อนที่เพียงพอจะเป็นวิถีชีวิตที่ดีต่อหัวใจ

ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์