"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบ.... อันตรายถึงชีวิต


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อก่อน อาจเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบัน เกิดกับผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ ต้นๆเมื่อเปรียบเทียบในรอบ 10 ปี จากปี 2543-2552  ข้อมูลการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคหัวใจขาดเลือดจาก 98.03 เป็น 359.34 ต่อประชากรแสนคน


โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันคืออะไร ?
          การที่มีเนื้อเยื่อไขมันผสมกับพังผืดจับตัวกันเป็นแผ่นนูนหรือ PLAQUE
ตามผนังชั้นในของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้รูตรงกลางหรือเส้นหรือเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง
          ผลก็คือกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดนั้นได้รับเลือดไม่พอเกิด อาการแน่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกกำลัง

 สาเหตุและ พยาธิกำเนิด หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจจึงมีการตีบตัน
          การเสื่อมของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดที่เคยอ่อนนุ่มและยืดหยุ่นง่าย กลายเป็นผนังที่แข็ง เนื่องจากปูนและไขมันไปจับ เหมือนขี้สนิมขี้ดินขี้ทรายที่เข้าไปพอกอยู่ในท่อน้ำต่างๆ จนในที่สุดท่อน้ำนั้น ก็ตีบตัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ- ความดันโลหิตสูง- โรคเบาหวาน - บุหรี่ - ความเครียด – ภาวะอ้วนและภาวะขาดการออกกำลังกาย
- ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่  อายู เพศ พันธุกรรม

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายจะมีอาการอย่างไร
          มักมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนมีของหนักทับ อาจปวดร้าวไปที่แขน หรือ ลำคอด้านซ้าย  เหงื่อแตก ใจสั่น โดยอาการจะกำเริบขณะออกแรง หากหลอดเลือดตีบมาก อาจมีอาการขณะนั่งพัก ได้    บางราย มาพบแพทย์ด้วยอาการ เหนือ่ยง่าย หากได้รับการรักษาไม่ทัน อาจ เป็น ลมวูบหมดสติ และเสียชีวิตได้ หากมีอาการดังกล่าว ข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ โดยทันที

การตรวจเพื่อยืนยัน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
          แพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น โดยการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ การตรวจเลือดวิเคราะห์เอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ บางรายทำการตรวจเพิ่มเติม โดยการวิ่งสายพาน หรือ ตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละคน หากผลผิดปกติ มาก ก็ จะทำการตรวจยืนยัน โดยการฉีดสีวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ

ขอขอบคุณบทความจาก : นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม
อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์รักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์