"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ศูนย์รักษาโรคมะเร็ง

ประเทศไทยพบว่าโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 1 ของคนไทยต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี  ตั้งแต่ปี 2543 ประมาณร้อยละ 20 ของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุ  ตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2553  ระบุว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 269,204 คน  มากที่สุดคือ  มะเร็งลำไส้ใหญ่ราว 50,000 คน  รองลงมาเป็นมะเร็งท่อน้ำดี 40,500 คน  มะเร็งเต้านม 36,000 คน  มะเร็งปากมดลูก 22,000 คน  และมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์หญิง 16,000 คน  มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิด 58,076 คน  เป็นชาย 33,659 คน  หญิง 24,417 คน

          ทั้งนี้  การก่อตัวของโรคมะเร็งจะค่อยเป็นค่อยไปไม่รู้ตัว  ขอแนะนำผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป  ควรตรวจสุขภาพค้นหาความผิดปกติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  หากตรวจพบเร็วโอกาสรักษาหายจะมีสูง  สัญญาณผิดปกติเยื้องต้นที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งมี 7 ประการ  ได้แก่
1.มีเลือดออกหรือมีสิ่งขับออกจากร่างกายผิดปกติ เช่น ตกขาวมากเกินไป  2.มีก้อนเนื้อหรือตุ่มเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนเนื้อนั้นโต เร็ว  3.มีแผลเรื้อรังรักษาหายยาก  4.ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะผิดปกติ  5.เสียงแหบหรือไอเรื้อรัง  6.กลืนอาหารลำบากหรือทานอาหารแล้วไม่ย่อย7.มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝ  หากมีอาการเหล่านี้ขอไปให้พบแพทย์โดยเร็ว



ความพร้อมในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง
          จากข้อมูลในปี 2556 ของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9  พบว่า  มีผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 577 ราย ให้ยาเคมีบำบัดจำนวน 494 ราย  โรคมะเร็งที่พบบ่อยได้แก่
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
- มะเร็งรังไข
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งโพรงจมูก

หลักการรักษามะเร็ง
          การรักษามะเร็งถือเป็นงานท้าทายวงการแพทย์มากที่สุดโรคหนึ่ง  เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่รักษายากหลักการรักษามะเร็งประกอบด้วย

1.การผ่าตัดรักษามะเร็ง
          การผ่าตัดรักษามะเร็ง  คือ  การผ่าเอาเนื้อมะเร็งออกจากร่างกาย  บางคนคาดหวังว่าหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งแล้วจะหายขาด  แต่การผ่าตัดรักษามะเร็งต้องปรึกษากับแพทย์ถึงเป้าหมายในการผ่าตัดรักษา มะเร็ง  ว่าหลังผ่าตัดแล้วจะรักษามะเร็งหายขาดหรือไม่ ?

          การผ่าตัดรักษามะเร็งระยะเริ่มต้นจะหายขาด  แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดใหญ่หรือว่ามะเร็งบางชนิดมีการแพร่กระจายมองไม่เห็นด้วย ตาเปล่า  ดังนั้น  การรักษามะเร็งอาจจะจำเป็นต้องให้เคมีหรือฉายแสงฆ่าเซลล์มะเร็งส่วนที่ตัด ออกไม่หมด

2.การฉายแสงรักษามะเร็ง
          ผู้ป่วยที่ต้องการทำรักษามะเร็งโดยการฉายรังสี  แพทย์รังสีจะเป็นผู้วางแผนการฉายรังสี  การใช้รังสีรักษามะเร็งผู้ป่วยในผู้ป่วยแต่ละราย  ระยะเวลารักษามะเร็ง  และขนาดของรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็งจะแตกต่าง  ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง  การตอบสนองและระยะมะเร็ง  การฉายรังสีรักษามะเร็งต้องอาศัยระสบการณ์และความชำนาญเพื่อให้การรักษา มะเร็งมีประสิทธิผลสูงสุด

          การฉายรังสีรักษามะเร็งเป็นการรักษามะเร็งที่ไม่มีความเจ็บปวด  ไม่เสียเลือด  และการรักษามะเร็งด้วยรังสีส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก  ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ผลทางด้านรังสียังไม่เกิดขึ้นทันที  แต่เมื่อผู้ป่วยมะเร็งได้รับการฉายรังสีเป็นระยะเวลาหนึ่ง  จึงจะเริ่มมีผลข้างเคียงหรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี  เช่น  คลื่นไส้  อาเจียน  ผมร่วง  ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น  เป็นต้น

3.เคมีบำบัด
          เคมีบำบัด  คือ  การรักษามะเร็งด้วยยาเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็ง  เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและทำลายเซลล์มะเร็ง  การรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดอาจมีผลข้างเคียง  เช่น  คลื่นไส้  อาเจียน  ปากอักเสบ  ผมร่วง  มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา  สภาวะความแข็งแรงของร่างกาย  ความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งด้วย  แพทย์จะสั่งใช้ยารักษามะเร็งชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง  และสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็ง

          ปัจจุบันการใช้ยารักษาโรคมะเร็งร่วมกันหลายชนิด  จะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาชนิดเดียวยารักษามะเร็งมีทั้ง  ชนิดน้ำ  ชนิดเม็ด  ชนิดฉีด  ยารักษามะเร็งไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดมากไปกว่ายาที่ใช้รักษาโรคอื่นๆ แต่เนื่องจากกรรักษามะเร็งด้วยวิธีการหลักทั้ง 3 วิธีการยังมีปัญหาไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ทุกราย  บางรายที่ดูเหมือนอาการดีขึ้น  ผ่านไปไม่กี่ปีโรคมะเร็งก็กลับมาเป็นอีก  ดังนั้น  การตรวจสุขภาพเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งจึงมีความสำคัญอย่างมาก  เพราะหากตรวจพบมากขึ้นทุกวัน  เชื่อว่าจะเพิ่มความหวังให้ผู้ป่วยมากขึ้นตามลำดับ

HIFU (High Intensity Focused Ultrasound Ablation System)

          เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าวิธีการรักษามะเร็งที่ดีอย่างหนึ่งคือ การผ่าตัด โดยกำจัดให้หมด ส่วนใหญ่จะประสบผลสำเร็จสำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นเท่านั้น มะเร็งชนิดลุกลามยังมีปัญหาต้องใช้วิธีผสมผสานทางการแพทย์อีกหลายแขนง และเครื่อง HIFU (High Intensity Focused Ultrasound Ablation System) ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาทั้งเนื้องอกธรรมดาและเนื้อร้ายที่เรียกว่า "มะเร็ง"

          HIFU จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้ในการรักษากลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ระยะลุกลาม เช่น มะเร็งตับและมะเร็งตับอ่อน โดยมีข้อบ่งชี้ต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด หรือรักษาโดยเคมีบำบัดแล้วไม่ได้ผลดี เป้าหมายในการรักษาด้วยเครื่อง HIFU คือ เพื่อลดอาการปวดทรมานจากมะเร็ง หรือเพื่อทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง ไม่ให้ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

          ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และภายหลังได้มีการพัฒนาเครื่อง HIFU ระหว่างจีน และญี่ปุ่น ให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บและทรมานจากโรคมะเร็งที่เป็นอยู่

สถานที่รับบริการและความพร้อมของอุปกรณ์
          หน่วยงาน One Day Chemotherapy ให้ยาเคมีบำบัด  แบบไม่ต้องนอนค้างคืน  โดยภายในห้องประกอบด้วย
- เก้าอี้สำหรับผ่อนคลาย 5 ตัว พร้อมเคเบิ้ลทีวี WiFi ให้ผ่อนคลาย
- ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก 3 ห้อง
- หอผู้ป่วยจำนวน 20 เตียง
- ห้องผ่าตัดใหญ่ 2 ห้อง
- ตู้ผสมยาเคมีบำบัดได้มาตรฐาน

ความพร้อมในการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมะเร็ง
- การให้การรักษาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
- การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการ
- การให้ความช่วยเหลือด้านสภาวะจิตใจ
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  ให้เกิดความสุขสบายลดภาวะทุกข์ทรมาน

สอบถามข้อมูลและเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 กิ่งแก้ว

90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: 0-2738-9900-7