"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ


1.ตับแข็ง
          มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับเพราะผู้ที่เป็นมะเร็งตับจะมีตับแข็งร่วม ด้วยเสมอถึงร้อยละ 90 ต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก

2.เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี
          - ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ประเทศที่มีอัตราพาหะ (Carrier rate) ของไวรัสตับอักเสบชนิดบีสูง (มากกว่าร้อยละ 8 ) เช่น ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาจะพบอุบัติการณ์การเกิดโรคมะร็งตับ สูง ในประเทศไทยการศึกษาจากหลายสถาบันได้ผลใกล้เคียงกันว่าตรวจพบเชื้อไวรัสตับ อักเสบชนิดบี ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับสูงถึงร้อยละ 50-80 พบว่าผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 223 เท่า และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะเสียชีวตเนื่องจากโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด

          - ไวรัสตับอักเสบซี (HCV) การศึกษาทางระบาดวิทยาในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรป พบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี สูงถึงร้อยละ 50-83 และมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 52 เท่า สำหรับในประเทศไทยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี พบระมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น น้อยกว่าชนิดบี แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งคาดว่าไวรัสซี จะเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต

3.อะฟลาท็อกซิน (afatoxin)
          เป็นสารเคมีที่สร้างจากเชื้อราชนิดหนึ่ง (แอสเปอร์จิรัส ฟลาวาส) เป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญมี 4 ชนิดคือ อะฟลาท็อกซิน บี1, บี2, จี1 และ จี2 พบปนเปื้นอยู่ในอาหารจำพวก ถั่งลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เชื้อราชนิดนี้เติบโตได้ดีในอากาศร้อน และโดยเฉพาะถ้ามีความชื้นอยู่ด้วย พบมีความสัมพันธ์ต่ดการเกิดมะเร็งตับในสัตว์ทดลองหลายชนิด โดยพบว่าอะฟลาท็อกซินก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนส์ต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่โรคมะเร็งตับ และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับในมนุษย์ การศึกษาในประเทศจีนและแอฟริกา พบว่าผู้ที่ตรวจพบอะฟลาท็อกซินในปัสสาวะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 3.8 เท่า และถ้ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 12.5 เท่า แสดงว่าอะฟลาท็อกซิน น่าจะมีความสัมพันธ์กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื่อว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นปัจจัยนำของการเกิดมะเร็งตับ และ อะฟลาท็อกซินเป็นปัจจัยเสริมอีกที

4.ไนโตรซามีน (Nitrosamine)
          สารนี้ก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ทั้งในสัตว์ทดลองหลายชนิดและในคนด้วย พบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น ในยากันบูด หรือในตัวจับสี และอาหารจำพวกปลาร้า เนื้อแห้ง โดยเฉพาะที่ใส่ดินประสิวเพื่อทำให้เนื้อนุ่มและอ่อนลง กุนเชียง หอยแมลงภู่แห้ง กุ้งแห้ง ไส้กรอกและปลาเค็มที่ใส่ดินประสิวเพื่อให้เนื้อปลามีสีแดงสดสวยน่ารับประทาน นอกจากนี้สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เช่น พวกยาฆ่าแมลง อาจเกิดปฏิกิริยากับไนไตรด์ทำให้เกิดไนโตรซามีนได้ สารเคมีเหล่านี้มักตกค้างอยู่ในผัก เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี หัวผักกาด และ ผลไม้ต่าง ๆ

5.แอลกอฮอล์
          เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเรงตับ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัดว่าแอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็งโดยตรง แต่หลักฐานการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากกว่า ผู้ที่ไม่ดื่มหลายเท่า โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือซี ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม

6.บุหรี่
          การศึกษาในสัตว์ทดลองบ่งชี้ว่าสารจากบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ และในคนพบว่าบุหรี่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ถ้าสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 2.6 เท่า มากกว่าผู้ที่ไม่สูบ และถ้าสูบมากกว่า 30 มวนต่อวัน อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 5.8 เท่า อัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับจากบุหรี่จะชัดเจนมากขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี โดยเฉพาะถ้าผู้ที่สูบบุหรี่นั้นเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็งอยู่ ก่อนแล้ว จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้น 8 เท่า มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

          นอกจากนี้ ฮอร์โมนและสารเคมีอื่น ๆ เช่น ไวนิลคลอไรด์ทอร์โรทราส มีโอกาสทำให้เกิดมะเร็งตับได้

ขอขอบคุณบทความจาก นพ.อาทิตย์ ภูผาธรรม
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและโรคตับ
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 กิ่งแก้ว