"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

มะเร็งตับ


       มะเร็งตับเป็นโรคที่จะรักษาให้หายได้ยาก ส่วนมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาอย่างรวดเร็ว อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย พบเป็นอันดับหนึ่งในเพศชาย อัตราเฉลี่ย 40.5 คนต่อประชากร 100,000 คน ในเพศหญิงเป็นอันดับ 3 หรือ 4 รองจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก อัตราเฉลี่ยน้อยกว่าในเพศชายเกือบ 3 เท่า

          มะเร็งตับปฐมภูมิในประเทศไทยที่พบบ่อยที่สุดมีอยู่สองชนิดคือ มะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) และมะเร็งของท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) ส่วนใหญ่มะเร็งตับ ร้อยละ 95 เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีพบในภาพอีสานมีอัตราสูงที่สุด เพราะเกิดจากพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ที่จังหวัดขอนแก่นพบอุบัติการณ์ของโรคนี้สูงที่สุดในโลก คือ ประมาณ 112.5 คนต่อประชากร 100,000 คน ในเพศชาย และ 39.4 คนต่อประชากร 100,000 คน ในเพศหญิง

          ส่วนมะเร็งตับที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น เช่น ปอด ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไม่ถือว่าเป็นมะเร็งเซลล์ตับปฐมภูมิ

          ถ้าแยกตามชนิดของมะเร็งตับปฐมภูมิ มะเร็งเซลล์ตับพบได้ทุกภาคของประเทศ และพบมากที่สุดในภาคกลาง มะเร็งชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับสภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
   
          ส่วนมะเร็งตับชนิดมะเร็งท่อน้ำดี มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพยาธิใบไม้ตับ และอุปนิสัยการบริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งพบมากที่สุดในภาคตะวันออกฉียงเหนือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 35-60 ปี

สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
          ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคมะเร็งตับในแต่ละภูมิภาคของโลกมีความแตกต่างกัน ได้มาก โรคนี้พบบ่อยในประเทศแถบทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และทวีปแอฟริกา พบมากถึงร้อยละ 40  แต่ในประเทศแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาพบเพียงประมาณร้อยละ 2-3 ของโรคมะเร็งทุกชนิดรวมกัน และมัก พบในผู้สูงอายุประมาณ 60 ปี เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดร่วมกับโรคตับแข็งจากแอลกอฮอล์ และไวรัสตับอักเสบซี

ขอขอบคุณบทความจาก นพ.อาทิตย์ ภูผาธรรม
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและโรคตับ
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 กิ่งแก้ว