"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

มะเร็งตับป้องกันได้อย่างไร


การตรวจหามะเร็งระยะแรกโดยเฉพาะบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงได้แก่ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ไม่ว่าจะเป็นระยะใดของโรคตับอักเสบ รวมทั้งพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตลอดจนผู้ป่วยที่เป็นโรคับแข็งทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น จากแอลกอฮอล์ หรือโรคทางกรรมพันธุ์ ควรตรวจเช็คเลือดและอัลตราซาวด์เป็นระยะ ๆ ตามแต่อายุ ในกรณีที่ทราบว่ามีโรคดับแข็งร่วมด้วยจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ สูงขึ้น ควรพบแพทย์และติดตามการรักษาเป็นระยะ ๆ บ่อยขึ้น

          ถ้าเป็นโรคตับอักเสบไวรัสบีและซีแบบเรื้อรัง ขณะนี้มียาฉีดและยารับประทานซึ่งอาจป้องกันและชลอให้เป็นตับแข็งได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา แต่ราคายายังแพงมาก

          ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สารอาหารและสารเคมีต่าง ๆ ดังกล่าวเบี้องต้นซึ่งเป็นปัจจัยก่อและปัจจัยเสริมให้เกิดมะเร็งตับเท่าที่ สามารถจะทำได้ และควรดูแลบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น พักผ่อนและออกกำลังกายป็นประจำ

          เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น หยุดรับประทานอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ที่มีไข่พยาธิใบไม้ในตับ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา ปลาร้า ในกรณีที่พบไข่พยาธิใบไม้ในตับ จากการตรวจพบในอุจจาระ ให้กินยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับ เพื่อป้องกันมะเร็งของท่อน้ำดีตับ

          ควรเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีอะฟลาท็อกซินและไนเตรท เช่นถั่วลิสงที่ติดเชื้อรา พริกป่น ไม่รับประทานอาหารทีมีสารหนู ควรงดสูบบุหรี่ หยุดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป

          การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ให้ฉีดตั้งแต่วัยทารก โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่แม่เป็นพาหะของเชื้อนี้ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ ถ้าเด็กโตแล้วและไม่มีภูมิต่อไวรัสบี ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ยังเป็นปัญหาอยู่เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ซีได้

          ดังนั้นการป้องกันเพื่อไม่ให้ติดเช้อไวรัสตับอักเสบซี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เช่น หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมร่วมกับผุ้อื่นรวมถึงการสักตามตัว การเจาะหู และการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

ขอขอบคุณบทความจาก นพ.อาทิตย์ ภูผาธรรม
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและโรคตับ
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 กิ่งแก้ว