"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ฝังแร่ ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก


มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคของผู้ชายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2  พบได้มากถึง 1 ใน 6 ของผู้ชายที่สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งต่อมลูกหมากมักจะไม่แสดงอาการแต่จะทราบได้จากการตรวจหาค่ามะเร็งต่อม ลูกหมาก PSA

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

         สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่น่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังนี้
-  อายุ เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากพบได้มากในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
-  มีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
-  คนที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้กว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
-  การรับประทานอาหารที่มีไขมันสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ติดมันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าปกติ

อาการทั่วไปของมะเร็งต่อมลูกหมาก
- สายปัสสาวะอ่อนแรง
- ปัสสาวะบ่อย ๆ กว่าปกติทั้งกลางวัน หรือกลางคืน
- มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะต้องปัสสาวะทันที
- ปัสสาวะติดขัด ลำบาก หรือไม่สามารถปัสสาวะได้
- มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
- มีเลือดหรือหนองปนออกมากับปัสสาวะ
- มีอาการปวดหลังหรืออุ้งเชิงกรานอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก
          เนื่องจากมะเร็งในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจเพื่อให้ได้ผลในระยะเริ่มต้นจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากโดยแพทย์เป็นประจำทุกปี หากมีประวัติญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรจะมารับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป
การตรวจค้นหามะเร็งต่อมลูกหมากประกอบด้วย การตรวจทางทวารหนัก และ การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง คือ พี เอส เอ ( PSA) เมื่อได้ค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว แพทย์จะแปลผลและสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูก หมาก

ทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
          การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรก ที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ในหลายวิธี อาทิ

          การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก โดยผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งมีข้อดีคือ เจ็บแผลน้อย เนื่องจากเป็นแผลเจาะรู เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว การตัดเลาะต่อมลูกหมากทำได้โดยละเอียดแม่นยำ เนื่องจากภาพที่ขยายจากการส่องกล้อง แต่ข้อเสียของการผ่าตัดคือ หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการการควบคุมปัสสาวะสูญเสียไปชั่วคราวหรือภาวะสูญ เสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

          การฉายรังสี เข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง หรือใช้การฝังแร่เข้าไปที่บริเวณต่อมลูกหมาก วิธีนี้มีโอกาสสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศน้อยกว่าการผ่าตัด เอาต่อมลูกหมากออก แต่อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระบ่อย มีการระคายเคืองที่ทวารหนักและปัสสาวะลำบาก

          การฝังแร่ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่นานาชาติให้การยอมรับว่าประสบความสำเร็จในการรักษาสูง

การฝังแร่ (Brachytherapy) ทางเลือกใหม่ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
           การฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก (Brachytherapy) เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษามะเร็งต่อมลูกมากในระยะเริ่มแรกที่มีความ เสี่ยงต่อการลุกลามของมะเร็งน้อย ให้ผลการรักษาเท่าเทียมการผ่าตัด แต่มีข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนเช่นการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว จึงพบได้น้อยกว่าการผ่าตัด

         ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึง 85-90% หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก และหลังจากได้รับการฝังแร่แล้ว เมื่อตรวจหาค่า PSA อีกครั้ง พบว่า ระดับ PSA ของผู้ป่วยลดลง ถึงระดับปกติหรือต่ำกว่าถึง 80% ผลจากการติดตามผู้ป่วยเป็นเวลาถึง 10 ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ Brachy therapy สามารถดำเนินชีวิตได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง หรือด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้อธิบายถึงทางเลือกในการรักษาแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ได้ตัดสินใจเลือกวิธีการ ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง

วิธีการรักษาด้วยวิธีการ “ฝังแร่” กัมมันตรังสี

          การรักษาด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการฝังเม็ดแร่ หรือต้นกำเนิดรังสีที่สามารถแผ่รังสีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งเข้าไป ที่อวัยวะเป้าหมายเพื่อให้รังสีที่แผ่ออกมานั้นทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบ กระเทือนอวัยวะใกล้เคียงอื่น ๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย และมีความเสี่ยงน้อย สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจ หรือภาวะความดันผิดปกติเนื่องจากผู้ป่วยไม่เสียเลือดมาก (ไม่เกิน 20 CC.)

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีการ “ฝังแร่”
          ในขั้นตอนแรกจะต้องทำการวัดขนาดของต่อมลูกหมาก (Volume Study) โดย การอัลตร้าซาวด์ตรวจวัดขนาด และตำแหน่งของต่อมลูกหมากโดยที่ขนาดและตำแหน่งของต่อมลูกหมากที่ได้มานั้นจะ มีลักษณะเป็นภาพตัดตามขวางของต่อมลูกหมากประมาณ 6 - 9 ภาพ แต่ละภาพมีความห่างกัน 0.5 ซม. เมื่อได้ขนาดที่แน่ชัดแล้วขั้นตอนต่อไปคือการทำ Preplan ในขั้นตอนนี้จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อกำหนดตำแหน่งของเม็ดแร่รังสี และตำแหน่งเข็ม เพื่อให้ต่อมลูกหมากได้รับปริมาณรังสีเท่าที่แพทย์ต้องการ ในกระบวนการฝังแพทย์จะทำการฝังผ่านทาง Template ด้วยเครื่องเมือยิงเม็กแร่เข้าไปแต่ละตำแหน่งตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้กำหนด ไว้ทำให้มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

เม็ดแร่รังสีสำหรับการฝังเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันเม็ดแร่รังสีมี 2 ชนิดคือ
          เม็ดแร่รังสีไอโอดายน์ - 125 เม็ดแร่ชนิดนี้ตัวเปลือกภายนอกจะทำจากโลหะไทเทเนียม ซึ่งไม่มีผลต่อภาวะกรด ด่าง ต่อของเหลวในร่างกายมนุษย์ ภายในบรรจุด้วยสารไอโอดายน์ - 125 เม็ดแร่รังสีชนิดนี้จะมีค่าครึ่งชีวิต (Half-Life) ประมาณ 60 วัน ซึ่งหมายความว่าในระยะเวลา 60 วัน ความแรงของรังสีที่แผ่ออกมานั้นจะลดลงครึ่งหนึ่งจากวันแรก

          เม็ดแร่รังสีพาเลเดียม - 103 เม็ดแร่รังสีชนิดนี้มีลักษณะภายนอกเหมือนเม็ดแร่รังสีไอโอดายน์-125 ทุกประการ แตกต่างกันเพียงภายในบรรจุสารพาเลเดียม - 103 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 17 วัน และมีราคาสูงกว่าแบบแรก 2-3 เท่าโดยประมาณ

ค่าการตรวจมะเร็งต่อมลูกมาก PSA

ต่ำกว่า โอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
25% อาจถึง 40%
10% อาจถึง 50%

ค่า PSA (Prostatic Specific Antigen) 0-4.0 ng/mL
ผู้ที่ตรวจ PSA แล้วพบว่าค่า PSA สูงถึง 2.5 ng/mL ควรได้รับการตรวจ PSA ถี่ขึ้นเป็น 2 ครั้ง/ปี
หรือ PSA สูงกว่า 0.75 ng/mL ต่อปี
หรือ PSA สูงเป็น 2 เท่า ภายใน 1 ปี ควรรีบปรึกษาแพทย์

ข้อมูลจาก นพ.วิรุณ โทณะวณิก 
สาขาความเชี่ยวชาญ รังสีแพทย์รักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการฝังแร่
สถานที่ออกตรวจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 เทพารักษ์

ท่านสามารถสอบ ถามรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และขอคำปรึกษาได้ที่ Call Center 1609 หรือ 085-111-2095 Urologist Consult โทร 02-769-2900 ติดต่อแผนกทางเดินปัสสาวะ