"กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพ สร้างเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ เทพารักษ์ คุณภาพมาตรฐานโลก JCI : สอบถามข้อมูลบริการต่างๆของโรงพยาบาลได้ที่เบอร์ 02-7692900-9, 02-7389900-7, 038-500300-99 หรือ สายด่วน 1609 ตลอด 24 ชั่วโมง"

1609

1609

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

โรคติดเชื้อ โคโรน่า ไวรัส สายพันธุ์ 2012 (Mers-cov)


MERS หรือ MERS-CoV คือ
ย่อจาก Middle East Respiratory Syndrome -CoronaVirus
คือ กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่เกิดจากการติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012


เป็น โรคติดเชื้อไวรัสที่ทำให้ปอดอักเสบและเสียชีวิตได้
คล้ายกับ SARS ที่เกิดจาก corona virus(กลุ่มเดียวกับ common cold) และ paramyxo virus(กลุ่มเดียวกับหัดคางทูม ติดเชื้อทางเดินหายใจ )
สรุป Mers-CoV เป็นไวรัสใหม่คล้าย SARS เชื้อเป็น Corona virus เหมือนกัน อาการรุนแรง แต่ติดต่อยากกว่า

ความสำคัญ
1.ผู้ป่วยติดเชื้อเกือบทุกรายจะมีอาการรุนแรง และ 30 %จะเสียชีวิต
2.สามารถติดต่อคนสู่คน เป็นกลุ่มก้อนได้ ทั้งในครอบครัวและในโรงพยาบาล
3.95% ของผู้ที่ติดต่อจะมีโรคประจำตัว

เชื้อ
Mers-Cov virus

Corona virus เป็น RNA virus ใน genus betacoronavirus(ในหนู ค้างคาว) รูปร่างคล้ายมงกุฎ
ปกติเชื้อกลุ่มนี้จะก่อโรคทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ชนิดอาการแบบไม่ร้ายแรง
ยกเว้น SARS Coronavirus(2002-2003) และ MERS ที่จะร้ายแรง

ระบาดวิทยา
20 เม.ย.2555(ค.ศ.2012) พบครั้งแรกที่ประเทศจอร์แดน มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคประหลาด
15 ก.ย.2555 รายงานครั้งแรกจากประเทศซาอุดิอาระเบีย เรียกว่า novel coronavirus(nCoV) พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบในคนมาก่อน โดยศาสตราจารย์ ดร. อาลี โมฮัมเม็ด ซาคี ไม่ใช่เชื้อจาก ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอ, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ บี,ไวรัสพาราอินฟลูเอ็นซา ไวรัสเอ็นเทอโร ไวรัสอะดิโน และประเทศซาอุดิอาระเบียรายงานผู้ป่วยมากสุด
22 ก.ย.2555 สหราชอาณาจักร ชันสูตรยืนยันพบเชื้อ โคโรนาชนิดไหม่ในผู้ป่วยจากตะวันออกกลาง
พ.ค.2556 ได้รับการตั้งชื่อโดย The Coronavirus Study Group of the International Committee on Taxonomy of Viruses ว่า "MERS-CoV"
28/5/2556 WHO รายงาน ติดเชื้อ MER-CoV 44 ราย เสียชีวิต 23 ราย
18 พ.ย.2556 มีประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อแล้ว 11 ประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมณี อิตาลี จอร์แดน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ตูนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ โอมาน และคูเวต
26 มี.ค. 2557 ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อทั่วโลก 200 ราย เสียชีวิต 85 ราย อัตราตาย 42.5%
13/4/2557 มาเลเซีย รายงานมีผู้เสียชีวิตรายแรกจากไวรัส MERS-CoV
20/4/2557 WHO รายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรวมแล้ว 250 ราย เสียชิวิต 93 ราย(อัตาราป่วยตาย 37.2)
14 ประเทศ ที่เพิ่มคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกรีซ
21/4/2557 ยอดรวมผู้ป่วยติดเชื้อประเทศซาอุดิอาระเบีย 244 ราย เสียชีวิต 76 ราย
26/4/2558 อียิปต์ รายงานพบผู้ป่วยรายแรกจาก MERS-CoV
27/4/2557 CNN รายงานยอดรวมผู้ป่วยติดเชื้อประเทศซาอุดิอาระเบีย 399 ราย เสียชีวิต 102 ราย
03/5/2557 ประเทศที่ 16 USA รายงานพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศ เดินทางกลับมาจากซาอุดีอาระเบีย
08/5/2557 กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียรายงานยอดรวม 449 ราย เสียชิวิต 121 ราย
13/5/2557 กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียรายงานยอดรวม 495 ราย เสียชิวิต 125 ราย
ผู้ป่วยติดเชื้อประเทศต่างทั้ง 16 ประเทศผู้ป่วยทุกคนล้วนเดินทางมาที่ซาอุดีอาระเบียก่อนติดเชื้อ
3/6/2557 กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียรายงานยอดรวม 688 ราย เสียชิวิต 282 ราย
15/6/2557 บังคลาเทศ สถาบันระบาดวิทยาวิจัยและการควบคุมโรค ออกรายงานผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศ
ชาน 53 ปี เดินทางจากสหรัฐอเมริกา ต่อเครื่องบินผ่านทางที่อาบูดาบีในสหรฐอาหรับเอมิเรตส์


Mers virus outbreak.JPEG

การติดต่อ
-จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ จากคนสู่คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
ส่วนจะติดต่อมาจากสัตว์หรือไม่ยังคงศึกษากันอยู่ ยังไม่มีการแพร่กระจายในชุมชน
-การติดต่อในโรงพยาบาลพบมากถึง 26% ของผู้ป่วยที่มีรายงาน
และพบ 12% ของผู้ป่วยทั้งหมดเป็นบุคลากรทางการแพทย์
-จากสัตว์สู่คน แหล่งแพร่เชื้อ พบเชื้อในอูฐสามารถติดต่อสู่คนได้ทั้งจากสารคัดหลั่งหรือน้ำนม
11/11/2556 ซาอุดิอาระเบีย รายงานถึงพบเชื้อ corona virus ในอูฐ
อาจเป็นวงจรการติดต่อสู่คน พบได้ทั้งทางโพรงจมูกและช่องทวารหนัก
โดยพบเชื้อมากถึง 2/3 ในจมูกอูฐที่มีอายุน้อย
และพบ antibody ในเลือดอูฐต่อเชื้อนี้ในตัวอย่างเลือดอูฐที่่เก็บไว้เมื่อ 20 ปีก่อน บ่งถึงการระบาดในอูฐ
จากรายงานการติดต่อค่อนข้างยาก หากเผ้าระวังป้องกันอย่างดีก็ไม่มีปัญหา

อายุที่พบ ที่มีรายงาน 2-83 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ เด็กพบน้อยไม่ถึง 10 ราย
ชายต่อหญิง 3.3:1 แต่ปัจจุบัน พบ 1:1
โรคร่วม พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ 90-96% มักมีโรคประจำตัวอยู่เดิม ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง
ระยะฟักตัว 10-14 วัน
อัตราป่วยตาย ช่วงแรกที่พบ 60-70% ปัจจุบัน 36%

ผู้ต้องสงสัย
ผู้มี อาการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน(Severe Acute Respiratory Infections (SARI)) หรือมีอาการปอดอักเสบ และเดินทางไปตะวันออกกลาง(เช่น ผู้แสวงบุญ เป็นต้น) หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย

อาการและอาการแสดง
อาการหลักคือ ไข้ ไอ หอบ
ระบบทางเดินหายใจ(80-99%) ไข้ ไข้หนาวสั่น ไอ หายใจหอบ หายใจลำบาก เกือบทุกรายมีอาการปอดบวม
อาการอื่น(20-30%) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องร่วง อาเจียน ปวดท้อง พบบ่อย
พบน้อย มีผู้ป่วยบางรายไตวายเฉียบพลัน เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิด DIC ได้
ประมาณ 50% เสียชีวิต
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
อาจพบ LDHสูง, AST สูง , thrombocytopenia, lymphopenia ได้

การวินิจฉัย
1.มีอาการทางเดินหายใจร่วมกับไข้มากกว่า 38 c
2.ร่วมกับมีรอยโรคที่ปอด(pneumonia หรือ ARDS)
3.ร่วมกับสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย หรือมีประวัติเดินทางไปตะวันออกกลาง
4.ร่วมการการส่งตรวจเชื้อไวรัส หรือตรวจแล้วไม่พบเชื้อตัวอื่นเลย
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ใช้ viral transport media(VTM) ตัวเดียวกับที่เก็บในไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนก จาก nasopharyngeal หรือ throst swab
ส่งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ ศิริราชพยาบาล จะเริ่มตรวจโดย PCR เมื่อได้ผลบวก จะยืนยันด้วยการทำ Gene sequencing อีกครั้ง
VTM ขอได้ที่ฝ่ายไวรัสระบบทางเดินหายใจสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 02-9510000 ตอ 99210
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด ให้ยาเคมีบำบัด
การป้องกัน
1.ล้างมือ ให้สะอาด ไม่คลุกคลีผู้ป่วย ไอจามใช้กระดาษทิชชูทิ้งถังขยะ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเข้าที่ชุมชนหรือกลุ่มเสี่ยง และแจ้งแพทย์หากเดินทางไปตะวันออกกลาง
2.เจ้าหน้าที่ต้องสวมชุดคลุม ใส่หน้ากาก N-65 หรือ N-100 เหมือนการดูแลผู้ป่วยโรค SARS
3.การป้องกันในโรงพยาบาลต้องป้องกันทั้ง airborne, droplet และ contact precautions

ที่มา : http://mdnote.wikispaces.com/MERS